วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

วินัย 5 ประการของ peter senge

ปัญหาก็คือจะเชื่อมโยงกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งได้ดำเนินมาก่อนแล้วตามแนวทางเดียวกับแนวทางของ สคส.ว่าสามารถสร้างให้เกิดวินัย 5 ประการได้อย่างไร

วินัย 5 ประการของ peter senge

บันได 5 ขั้นสู่ LO โดยใช้ KM

 จากแผนที่กลยุทธ์




             


                     ของ สายงานรองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ. กำหนดให้พัฒนาสายงานไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้  ซึ่งปัจจัยสำคัญในการพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือพฤติกรรมของทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน คณะทำงานจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาหน่วยงานไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ฉบับที่ 2 ปีพ.ศ. 2552-2556 จึงกำหนดให้ใช้ “วินัย 5 ประการ  (The Fifth Discipline)” ของ Peter M.Senge  Ph.D.  เป็นแนวทางของแผนแม่บทฯ  ซึ่งได้ให้นิยามขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ในเชิงพฤติกรรมไว้ ดังนี้

1. Personal Mastery   :        ความเป็นบุคคลเรียนรู้ ชำนาญในสาขาอาชีพของตน ใฝ่เรียน           ใฝ่รู้ เก่งคิด เก่งทำ พร้อมพัฒนาตนเอง

2. Mental Model      : ปรับวิธีคิด ไม่ยึดมั่นในรูปแบบและวิธีการเดิม  เปิดใจกว้างยอมรับในเหตุและผล 
                                         มีความคิดเชิงบวก สร้างสรรค์
      3. Shared Vision         :      มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เป้าหมายในทุกระดับสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
        4. Team Learning       :       การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือ  เกื้อกูล สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
          5. Systems Thinking          : ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ  มองภาพรวมให้ออก คิดให้ครอบคลุมครบวงจร คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบที่เชื่อมโยงกันอยู่

                     กลยุทธ์การพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดให้ใช้เครื่องมือ KM ในการสร้างวินัย 5 ประการ ปัญหาก็คือจะเชื่อมโยงกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งได้ดำเนินมาก่อนแล้วตามแนวทางเดียวกับแนวทางของ สคส.ว่าสามารถสร้างให้เกิดวินัย 5 ประการได้อย่างไร โจทย์ข้อนี้ทีมแกนนำ KM โรงไฟฟ้าแม่เมาะรับไปดำเนินการ ไม่น่าเชื่อว่า  ระหว่างที่ผมโทรศัพท์สนทนาภาษา KM กับคุณ คนเผาถ่าน ( คุณจิรชัย ศรีสมบัติ )ก็นึกถึงบันได 5 ขั้นขึ้นได้อย่างไรก็ไม่รู้ คุยกันต่อว่าจะนำเอา เครื่องมือย่อยของกระบวนการจัดการความรู้ที่ใช้กันอยู่เป็นประจำเติมลงไปในบันไดขั้นต่างๆ แต่บันไดขั้นที่ห้าควรจะเป็นวินัยข้อใด คุยไปคุยมาสรุปลงได้ว่า Systems Thinking น่าจะเป็นสิ่งที่สร้างให้เกิดได้ยากที่สุด  แล้วจุดเริ่มต้นบันไดขั้นที่หนึ่งต้องเริ่มที่ ใจ  Mental Model  ก่อนตามกระบวนการจัดการความรู้  ตามด้วย การ ลปรร. . Team Learning  ถ้านำเอาแต่ประสบการณ์ เคล็ดลับ ของเดิม ของเก่าออกมาเล่า ไม่นานก็จะหมดมุก ไม่รู้จะเอาเรื่องอะไรมาเล่าอีก     จำเป็นต้องมีการหามุกใหม่ๆจากหน้างาน ซึ่งต้องอาศัย Personal Mastery เรียนรู้จากการทำงานโดยใช้ AAR   ตามบันไดขั้นที่ 1-3 จะต้องออกแบบกระบวนการจัดการความรู้ผ่านเวที ลปรร. ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร   Shared Vision บันไดทั้ง 4 ขั้นแรกเป็นกระบวนการจัดการความรู้ตามแนวทางของ สคส.อยู่แล้ว "ปัญหามาอยู่ที่ Systems Thinking ของบันไดขั้นที่ห้าจะสร้างได้ด้วยเครื่องมือตัวไหนของ KM " คุยไปนึกไปก็ออกมาว่าเครื่องมือย่อยทุกตัวของ KM ถ้าฝึกใช้เป็นประจำจะทำให้ระบบความคิดพัฒนาไปสู่การคิดเชิงระบบเพราะการได้นำประสบการณ์ที่ได้จากความคิดของตน  เล่าให้เพื่อนฟังแล้วได้ฟังเพื่อนๆ     "ตีความ" เรื่องเล่าเป็นการเปิดมุมมมอง เปิดความคิดให้ ครอบคลุม ครบวงจร มากขึ้น เมื่อได้ฝึกซ้ำๆความสามารถคิดเชิงระบบจะพัฒนาขึ้น แต่ก็ไม่รู้จะแทนคำพูดเหล่านี้ด้วยคำอะไรดี  ตกลงกันตอนนั้นใส่คำว่า KM ลงไปเป็นเครื่องมือของบันไดขั้นที่ห้าก่อน  หลังจากนั้นอีก 5 วันผมกลับจากไปเป็นวิทยากร KM Workshop ให้กับโรงไฟฟ้าราชบุรี ได้เห็น PowerPoint รูปการใช้ KM สร้างวินัย 5 ประการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจัดทำโดย คนเผาถ่าน ผมชอบคำที่เขานำมาใช้แทนในบันไดขั้นที่ห้ามาก "Continuous KM" คำนี้ตรงและไพเราะโดนใจจริงๆ ท่านผู้อ่านมีความเห็นอย่างไร ช่วยกัน ลปรร.ครับ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ขอบคุณล่วงหน้าครับ



            บันได 5 ขั้นสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

                    การพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นสามารถเทียบ วินัย 5 ประการได้กับบันได 5 ขั้น   บันได 4 ขั้นแรกเป็นกระบวนการจัดการความรู้ ผ่านการจัดตลาดนัดความรู้โดยใช้เครื่องมือย่อยของ KM เป็นตัวช่วยในการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อกระบวน การจัดการความรู้หมุนอย่างต่อเนื่องจะสามารถพัฒนาคนที่เข้าร่วมกระบวนการให้ได้  ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ  ฝึกตีความร่วมกับเพื่อนร่วมงาน  ทำให้สามารถคิดได้รอบคอบขึ้น คิดได้แบบครบวงจร อาจกล่าวได้ว่าเมื่อมีการใช้ KM อย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดความสามารถในการคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นบันไดขั้นที่ 5 ตามที่ Peter M.Senge  เน้นว่าสำคัญที่สุด

            เครื่องมือย่อยของ KM ที่ได้แยกไว้ตามบันไดทั้ง 5 ขั้น


            1.  Mental Model  บันไดขั้นแรกของกระบวนการจัดการความรู้ เป็นการเตรียมคนให้พร้อมที่จะเข้าร่วมตลาดนัดความรู้ โดยเตรียมการเปิดใจ  เปิดหูฟังอย่างลึก  ปรับทัศนคติเป็นเชิงบวก ฝึกการ Reflect สะท้อนมองตนเอง

            2. Team Learning บันไดขั้นที่สอง การเข้าร่วมตลาดนัดความรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรียนรู้เป็นทีม ผ่านการเล่าเรื่องความสำเร็จจากหน้างาน

            3.  Personal Mastery บันไดขั้นที่สามหลังการเข้าร่วมตลาดนัดความรู้ นำความรู้ที่ได้นำกลับมาทดลองปรับใช้กับงานของตน   เรียนรู้จากการทำงานโดยใช้ AAR ในบรรยากาศแบบเอื้ออำนาจ (Empower) จากผู้นำทุกระดับ เพื่อนำความรู้ที่ได้นำกลับไปเล่าในโอกาสเข้าร่วมตลาดนัดความรู้ครั้งต่อไป

            4.  Shared Vision บันไดขั้นที่สี่ การออกแบบตลาดนัดความรู้ต้องตอบสนองเป้าหมายขององค์กร ฝึกตีความเรื่องเล่าหรือกิจกรรมต่างๆว่ากระทบถึงเป้าหมายของหน่วยงาน ขององค์กรอย่างไร

            5.  Systems Thinking บันไดขั้นที่ห้า เกิดจากการใช้ KM อย่างต่อเนื่อง

            ไม่มีความคิดเห็น:

            แสดงความคิดเห็น