วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

core competency ความสามารถหลัก Distinctive competency สมรรถนะที่โดดเด่น

1.ให้วิเคราะห์ core competency ของมก.ฉกส.
2. หา Distinctive competency ของมก.ฉกส. ว่ามีอะไรบ้าง เขียนมาให้ได้มากที่สุด !!
core competency = สมรรถนะหลักหรือเอกลักษณ์ เพื่อนๆ ก็ลองคิดว่าอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ของมอเรา ลองวิเคราะห์ดูว่า มอเรามีอะไรโดดเด่น
Distinctive competency = สมรรถนะที่แตกต่าง ที่ไม่เหมือนใคร หรืออัปลักษณ์ เหมือนเดิมค่ะ เพื่อนๆ ก็ลองวิเคราะห์เอาว่า มอเรามีอะไรที่แตกต่างและมีอะไรที่ไม่เหมือนใคร ๆๆ
** ส่งคาบหน้า (9/02/55)
core competency ความสามารถหลัก
Distinctive competency สมรรถนะที่โดดเด่น
Core Competency เป็นความสามารถหลักในการแข่งขันองค์กร
Distinctive Competency เป็นความสามารถที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะขององค์กร
Core Competency เป็นการสร้างความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การได้เปรียบทางการแข่งขัน มีลักษณะที่สำคัญคือ
1. มีคุณค่าในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันอย่างแท้จริง
2. เป็นปัจจัยที่เหนือกว่าคู่แข่งขันหรือไม่มีคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม
3. ไม่สามารถเลียนแบบได้ หรือมีต้นทุนการผลิตที่คู่แข่งจะไม่สามารถสร้างขึ้นมาให้เทียบเท่า
Core Competency ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถสร้าง Value ให้แก่ลูกค้าได้

Distinctive Competency คือ ความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น เป็นการสร้างความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะให้เกิดขึ้นกับองค์กร กระตุ้นให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน บริษัทจึงต้องอยู่ในธุรกิจของการเสาะหาและสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ลูกค้า อย่างต่อเนื่องโดยตระหนักและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการของลูกค้า เป็นความสามารถที่คู่แข่งขันสามารถแข่งขันได้ถ้ามีโอกาส แต่ถ้าองค์กรสามารถทำให้ความเชี่ยวชาญดังกล่าวเป็นจุดแข็งที่โดดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง สามารถเข้าถึงได้ยากก็จะเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ดังนั้น ถ้าองค์กรหรือธุรกิจใด มีองค์ประกอบทั้ง 2 อย่าง ก็จะสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของธุรกิจ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร Core & Distinctive Competency จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของทั้งองค์กร ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร และจะต้องมีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ปณิธาน ค่านิยมหลัก
ปรัชญา


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันที่มีปณิธานมุ่งมั่น ในการสั่งสมเสาะแสวงหา และพัฒนาความรู้ให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญา ที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรม และคุณธรรม ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอดเจตนารมณ์ที่ดีของสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติ




วิสัยทัศน์



มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ มีผลงานเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล เป็นแกนนำในการระดมภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และให้มีอำนาจต่อรองในประชาคมโลก




พันธกิจ



สะสมภูมิปัญญา สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลาย สร้างคนที่มีปัญญา รู้เหตุรู้ผล อยู่ในคุณธรรม และมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ตลอดจนสร้างผลงานที่มีมาตรฐานสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมีการบริหารทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมพัฒนากับชุมชน และรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการนำประเทศไปสู่ความผาสุกและมั่นคง




ปณิธาน


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันที่มีปณิธานมุ่งมั่นในการสั่งสมเสาะแสวงหาและพัฒนาความรู้ ให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญาที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรมและคุณธรรม ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอด เจตนารมณ์ที่ดีของสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติ



ค่านิยมหลัก



"มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน สืบสานสามัคคี มีคุณธรรม"



คำอธิบาย

1. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Efficiency) : ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติงานให้ดีหรือให้เกินมาตรฐาน มีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ สนใจใฝ่หาความรู้ มีภาวะผู้นำในตนเอง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

2. สืบสานสามัคคี (Synergy) : ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งในทีมงาน หน่วยงานหรือองค์กร โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิกในทีมและเป็นหัวหน้าทีมได้ และความสามารถในการสร้างและดำรงรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม

3. มีคุณธรรม (Integrity) : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ


เอกลักษณ์



มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มุ่งสร้างศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดีของชาติ



อัตลักษณ์



สำนึกดี มุ่งมั่น สร้างสรรค์ สามัคคี



ปรัชญา
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันที่มีปณิธานมุ่งมั่น ในการสั่งสมเสาะแสวงหา และพัฒนาความรู้ให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญา ที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรม และคุณธรรม ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอดเจตนารมณ์ที่ดีของสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติ
     
วิสัยทัศน์
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ มีผลงานเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานสากล เป็นแกนนำในการระดมภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และให้มีอำนาจต่อรองในประชาคมโลก
   
     
พันธกิจ
    สะสมภูมิปัญญา สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ที่หลากหลาย สร้างคนที่มีปัญญา รู้เหตุรู้ผล อยู่ในคุณธรรม และมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ตลอดจนสร้างผลงานที่มีมาตรฐานสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมีการบริหารทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมพัฒนากับชุมชน และรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการนำประเทศไปสู่ความผาสุกและมั่นคง
    พันธกิจด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย คลิก 
     
ปณิธาน
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันที่มีปณิธานมุ่งมั่นในการสั่งสมเสาะแสวงหาและพัฒนาความรู้ ให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญาที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรมและคุณธรรม ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอด เจตนารมณ์ที่ดีของสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติ
     
ค่านิยมหลัก
     
    "มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน สืบสานสามัคคี มีคุณธรรม"    
     
    คำอธิบาย
    1. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Efficiency) : ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติงานให้ดีหรือให้เกินมาตรฐาน มีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ สนใจใฝ่หาความรู้ มีภาวะผู้นำในตนเอง มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
    2. สืบสานสามัคคี (Synergy) : ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นส่วนหนึ่งในทีมงาน หน่วยงานหรือองค์กร โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิกในทีมและเป็นหัวหน้าทีมได้ และความสามารถในการสร้างและดำรงรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม
    3. มีคุณธรรม (Integrity) : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ

เอกลักษณ์
     
    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มุ่งสร้างศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดีของชาติ
(Kasetsart University aims to create knowledges of the land for the well-being of nation)

อัตลักษณ์
     
    สำนึกดี                 มุ่งมั่น                    สร้างสรรค์              สามัคคี
    (Integrity)  (Determination)   (Knowledge Creation)       (Unity)

(IDKU : อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Identity of Kasetsart University)

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ปรัชญา
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิต ที่ตระหนักในความสำคัญของความรู้พื้นฐาน มีทักษะและรู้จักใช้หลักวิชาการในการทำงานและการแก้ปัญหา มีคุณธรรมในการดำรงชีพ และมีจิตสำนึกในการจรรโลงสังคม

Faculty of Liberal Arts and Science endeavor to produce graduates who are aware of the importance of the body of knowledge, are able to utilize the knowledge in their working life and in solving problems, have a moral courage and contribute to the society

ปณิธาน
สร้างบัณฑิตให้มีปัญญา คุณธรรม และความสุข
To produce graduates with wisdom, moral and happiness

วิสัยทัศน์
บูรณาการวิชาการ และสร้างงานวิจัยในระดับสากล
To intergrate academy and conduct research for internationlization

เอกลักษณ์
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มุ่งประสานศิลป์และวิทย์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

พันธกิจ
1. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างสาขาวิชา
2. สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
4. พัฒนานิสิตให้มีความรู้ความสามารถและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
5. สร้างและพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการและการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ








การจำแนกประเภทของการวางแผนตามความถี่ของการนำแผนไปใช้ (Repetitiveness Use Plan ) การจำแนกประเภทของแผนวิธีนี้ จะแบ่งแผนออกได้ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ แผนหลักและแผนใช้เฉพาะครั้ง

4.1 แผนหลัก (Standing Plan) (หรืออาจเรียกได้ว่าแผนยืนพื้น แผนถาวร หรืแผนประจำ) เป็นแนวคิด หลักการ หรือแนวทางปฏิบัติในการกระทำกิจกรรมบางอย่างภายในองค์กร ซึ่งต้องมีการกระทำซ้ำบ่อยๆ แผนหลักหรือแผนประจำนี้ จะถูกนำมาใช้ได้หลาย ๆครั้งโดยไม่มีการกำหนดอายุ (ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ทั้งภายในและภายนอกเป็นเกณฑ์) แผนหลักหรือแผนประจำจึงต้องเป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาระหว่างฝ่ายต่าง ๆแผน

หลักหรือแผนประจำประกอบด้วย
- นโยบาย เป็นข้อความ หรือสิ่งที่เข้าใจง่ายเป็นที่ยอมรับและเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินในและปฏิบัติ
- ระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedures) เป็นขั้นตอนวิธีปฏิบัติงานที่เลือกหรือกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน สำหรับการดำเนินงานในอนาคต เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และวัตถุประสงค์ระเบียบปฏิบัติจะใช้มากสำหรับการดำเนินงานในระดับแผนกซึ่งมีหน้าที่ในทางปฏิบัติโดยตรง
ความแตกต่างระหว่างนโยบายกับระเบียบวิธีปฏิบัติจะอยู่ที่นโยบายเป็นเรื่องของการวางหลักปฏิบัติทั่วๆ ไป ส่วนระเบียบวิธีปฏิบัติจะบอกให้ทราบว่า จะต้องทำอะไร ทำอย่างไรเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นจึงมีผู้กล่าว่า ระเบียบปฏิบัติ คือ แผนซึ่งกำหนดแนวปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจงภายในนโยบายที่วางไว้
- กฎ (Rule) หมายถึง แผนงานประจำที่มีความเฉพาะเจาะจง จำเป็นต้องปฏิบัติ กฎจะชี้ให้เห็นถึงวิธีปฏิบัติงานโดยไม่มีการลำดับเหตุการณ์ กฎอาจเป็นหรือไม่เป็นส่วนหนี่งของวิธีปฏิบัติก็ได้ และถ้านโยบายที่นำมาใช้ไม่เปิดโอกาสให้ผู้กรำได้ใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงานแล้วถูกเรียกว่ากฎทันที

4.2 แผนใช้เฉพาะครั้ง (Single-Use Plan) หมายถึง แผนที่เตรียมขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก (one time Goal ) เมื่อบรรลุผลตามที่กำหนดแล้วจะเลิกใช้แผนนั้น ๆ แต่ถ้าสถานการณ์เอื้ออำนวยจะนำกลับมาใช้ใหม่อีกก็ได้ แผนประเภทนี้ได้แก่

4.2.1 โปรแกรมหรือ แผนงาน (Program) เป็นแผนที่ถูกจัดให้อยู่ในลำดับสูงสุดของแผนใช้เฉพาะครั้ง (การวางแผนและควบคุมการบริหาร)โปรแกรมจะครอบคลุมกิจกรรมที่คาดว่าจะต้องกระทำทั้งหมด หรือเพื่อใช้กับสถานการณ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากและสลับซับซ้อนในการแก้ปัญหา (Management) เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และประหยัด สิ่งที่ผู้บริหารควรกระทำในการวางโปรแกรม ได้แก่
- ทำให้กิจกรรมทั้งหลายมีขั้นตอน
- เรียงลำดับขั้นตอนว่าอะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลัง
- ว่างแผนว่าใครเป็นผู้กระทำกิจกรรมใจแต่ละขั้นตอนนั้น
- ประมาณการทรัพยากรที่มี ให้เพียงพอในการปฏิบัติงานแต่ละขั้น
- ประมาณการทรัพยากรที่มี ให้เพียงพอในการปฏิบัติงานแต่ละขั้น
- ประมาณเวลาที่จำเป็นในการปฏิบัติงานแต่ละขั้น
- เตรียมเครื่องมือสนับสนุนงานแต่ละขั้น

1.2.2 โครงการ (Project ) เป็นการวางแผนที่ใช้กับเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยมีความยุ่งยากหรือสลับซับซ้อน โครงการจึงมีลักษณะเป็นแผนงานย่อยที่มีความเฉพาะเจาะจง
1.2.3 แผนรายละเอียด (Detailed Plan) เป็นแผนแสดงการดำเนินงานอย่างละเอียดทุกขั้นตอน และมีลักษณะเป็นแผนระยะสั้น
1.2.4 งานเฉพาะกิจพิเศษ (Special Task) เป็นแผนกิจกรรมสำหรับเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้น และต้องรีบแก้ไขอย่างปัจจุบันทันด่วนเป็นกรณีพิเศษ บางครั้งอาจเรียกว่า แผนฉุกเฉิน (Contingency Plan)







การจำแนกประเภทของการาวางแผนตามหน้าที่ดำเนินงาน (Functional Planning) การวางแผนโดยจำแนกตามหน้าที่ดำเนินงาน สามารถจำแนกแผนออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่

3.1 แผนแม่บท (Master Plan) เป็นแผนที่เกิดจากการรวมแผนทั้งหมดภายในองค์กรเข้าไวด้วยกัน เพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างโดยรวม ของการปฏิบัติงานภายในองค์กร และใช้เป็นแม่แบบในการวางแผนระดับรองลงไปของกิจการ

3.2 แผนหน้าที่ (Functional Plan) เป็นแผนที่ถูกวางขึ้นเพื่อเฉพาะเจาะจงใช้กับ กลุ่มงาน แผนปฏิบัติงานจะเป็นแผนย่อยที่อยู่ในแผนใหญ่ที่เรียกว่าแผนแม่บท แผนปฏิบัติงานจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติทราบว่า หน่วยงานจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร และทำเพื่ออะไร ตลอดจนแสดง เป้าหมายสุดท้ายที่คาดหวัง เมื่อปฏิบัติตามแผนทุกอย่างหมดแล้ว
การจำแนกการวางแผนตามหน้าที่นี้ สามารถจำแนกแผนย่อยออกได้เป็นแผนด้านบุคลากร แผนด้านการผลิตแผนด้านการตลาด และแผนด้านการเงิน

3.2.1 การวางแผนด้านบุคคล (Human Resource Planning ) เป็นการคาดคะเนความต้องการใช้บุคลากร ซึ่งถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าขององค์กรธุรกิจ เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องระหว่างบุคลากรและงานขององค์กรทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

3.2.2 การวางแผนด้านการผลิต (Production Planning) คือ กระบวนการในการกำหนดชนิดและปริมาณของทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้เพี่อการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากร กำลังผลิต แรงงานที่ใช้ และเวลาในการผลิตให้น้อยที่สุด แต่ก่อให้เกิดประสิทธิผลดีที่สุดตามเป้าหมายที่วางไว้

3.2.3 การวางแผนด้านการตลาด (Marketing Planning) คือ กระบวนการในการกำหนดเป้าหมายและวิธีการ เพื่อการตลาดปฏิบัติการทางการตลาดให้บรรลุผลสำเร็จตามที่คาดหวังและ ก่อให้เกิดผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า น่าพอใจโดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทางด้านการตลาด ทำได้หลายวิธี เช่น การวางแผนเพื่อเพิ่มยอดขาย เพื่อขยายส่วนแบ่งตลาด และเพื่อเพิ่มผลกำไร เป็นต้น

3.2.4 การวางแผนด้านการเงิน (Financial Planning) คือกระบวนการในการพิจารณาเพื่อจัดสรรทรัพยากรทางการเงินที่กิจการมีอยู่เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวกัน ก็พิจารณาเพื่อแสวงหาแหล่งเงินทุนที่ก่อให้เกิดต้นทุนและความเสี่ยงต่ำ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภารในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพการวางแผนด้านการเงินนี้จะมีลักษณะเป็นการวางแผนด้านสนับสนุน เพื่อแผนอื่นๆ ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.3 แผนงานโครงการ (Project) เป็นแผนที่องค์กรทำขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบาย เกี่ยวกับกิจกรรมใหญ่ขององค์กรเฉพาะครั้ง (เป็นกิจกรรมที่นาน ๆทำที มิใช่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ) ซึ่งต้องใช้ปัจจัยเป็นจำนวนมาก จากหน่วยงานต่าง ๆขององค์กรหลาย ๆหน่วยงาน การวางแผนงานโครงการจะช่วยให้หน่วยงานย่อยแต่ละหน่วยงานรู้หน้าที่ และความรับผิดชอบของตน มีการประสานสัมพันธ์อันดี ซึ่งจะทำให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.4 แผนสรุป ( Comprehensive Plan ) เป็นแผนที่จัดทำขึ้นเพื่อสรุปรวมแผนหน้าที่ตลอดจนแผนงานโครงงานที่องค์กรกระทำ โดยอาจจำแนกเป็นหมวดหมู่ หรือจำแนกตามขอบเขตของงานหรือระดับความซับซ้อนในการปฏิบัติ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ การวางแผนประเภทนี้ จะเห็นได้ชัดในการวางแผนบริหารประเทศของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น แผนสาธารณสุข แผนการจัดการศึกษา เป็นต้น

3.5 แผนกิจกรรม (Activity Planning) เป็นแผนที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นตารางเวลาของการปฏิบัติงาน (Schedule) แผนกิจกรรมจะแสดงให้เห็นว่า แต่ละหน่วยงานย่อยในองค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมอะไร ในช่วงเวลาใดบ้าง กิจกรรมนั้นจะเริ่มต้นเมื่อไร และจะต้องดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องกับหน่วยงานใด บ้างหรือไม่ เพื่อให้งานนั้นแล้วเสร็จบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ



วิสัยทัศน์ (Vision)
สำนักวิทยบริการเป็นผู้นำทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนที่ทันสมัย บริการวิชาการก้าวไกล เป็นเครือข่ายทางการศึกษาวิจัยในภูมิภาคตะวันออก
พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอนของคณะวิชา โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการศึกษา สารสนเทศและห้องสมุด
2. สนับสนุนและสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร และเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชน
3. เป็นแหล่งบริการวิชาการ และพัฒนาระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อเป็นเครือข่ายในการเผยแพร่ความรู้แก่ชุมชน
4. ส่งเสริมและสนันสนุนศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันออก
5. บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
วัตถุประสงค์ (Objective)
1. สนับสนุนการเรียนการสอนของคณะวิชาภายในวิทยาเขต โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการศึกษา สารสนเทศ และห้องสมุด เพื่อรองรับการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
2. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในการทำวิจัย เพื่อใช้เป็นองค์ความรู้พัฒนาองค์กร และสนับสนุนการทำวิจัยของวิทยาเขต
3. ส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานกับชุมชน
4. อนุรักษ์และปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาคตะวันออก
5. มีระบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ และเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกระดับ เพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ขององค์กร 
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์
มีระบบสนับสนุนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างสรรค์องค์ความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนภายใต้ระบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น