วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Red Ocean Strategy และ Blue Ocean Strategy

การบ้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ให้ไปอ่านRed Ocean  Strategy และ Blue Ocean Strategyมา
แดง  ทะเล  กลยุทธ์   และ  น้ำเงิน  ทะเล  กลยุทธ์
Red Ocean  Strategy และ Blue Ocean Strategy
และเมื่ออ่านเสร็จแล้วก็อธิบายว่ากลยุทธ์ทะเลสีแดงเป็นยังไงและกลยุทธ์ทะเลที่น้ำเงินเป็นยังไง...................2กลยุทธ์นี้มีความแตกต่างกันยังไง

1. ให้อธิบายกลยุทธ์แบบ Red Ocean, Blue Ocean และ White Ocean พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
  • 1) กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิม
ผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้างความต้องการใหม่ ๆ (NewDemand) ขึ้นมาเสมอ โดยใช้นวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ หรือเป็นทะเลใหม่ๆ ซึ่งเป็นทะเลสีน้ำเงิน และกลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงินได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ ที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ ได้แก่ ธุรกิจกาแฟสตาร์บัค (Star Buck), สถานีข่าว ซีเอ็นเอ็น (CNN), ธุรกิจ
คอมพิวเตอร์เดล (Dell Computer), ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (South West Aieline), ธุรกิจหนังสือออนไลน(Amazon.Com) หรือหากเป็นในประเทศไทย ได้แก่ ฮอต พอท (Hot Pot) ซึ่งเป็นสุกี้รวมกับอาหารญี่ปุ่น ถ้าตั้งชื่อเป็นสุกี้จะไม่สามารถเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าที่มีร้าน MK สุกี้ตั้งอยู่มาก่อน โดย ฮอตพอท (Hot Pot) ได้แต่เปลี่ยนชื่อใหม่จากสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทำให้เข้าสู่พื้นที่ว่างของตลาดใหม่ได้และกำลังได้รับความนิยมตลาดในขณะนี้
ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS)
1. เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีในปัจจุบันและไม่ทราบมาก่อนว่ามีอุตสาหกรรมประเภทนี้รวมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม
2. สร้างอุปสงค์ใหม่ขึ้นมา (New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น
3 .ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่เปรียบเทียบกัน
4. สามารถใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิด นวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)
5. มองภาพใหญ่ โดยไม่มุ่งเน้นเรื่องจำนวน และไม่ยึดติดกับผลการวิเคราะห์
6. ใช้แรงจูงใจในการทำงานไม่ใช่แรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน
ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean
เครื่องสำอางค์ Body Shop ได้ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean ในการขายเครื่องสำอางค์ของตนเอง นั่นคือแทนที่จะมุ่งเน้นทำเหมือนคู่แข่งขันรายเดิมๆ ที่อยู่ในธุรกิจเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม หรือการสร้างภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีชั้นสูง หรือการใช้ดาราหรือนางแบบชื่อดังมาโฆษณา หรือการตั้งราคาที่สูง
สิ่งที่ Body Shop นำเสนอคือคุณค่าที่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดเครื่องสำอาง แต่จะเน้นการใช้ส่วนผสมตามธรรมชาติ และการดำรงชีวิตแบบมีสุขภาพที่สมบูรณ์ และพยายามนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้ลูกค้า เป็นการสร้าง Blue Ocean ขึ้นมา แทนที่จะมุ่งเน้นแต่ Red Ocean แบบเดิมๆ

  • 2) กลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่ง และการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือหาทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะนำไปสู่การแข่งขันและการตอบโต้อย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่มีความแตกต่างกัน ทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจ
ทั้งสองฝ่าย ด้วยกลวิธีนี้ทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นนั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์ทางการทหาร
ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS)
1. อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีขอบเขตชัดเจน และคำนึงถึงลูกค้าเก่า ๆ
2. บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมพยายามเอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา มองการได้ส่วนแบ่งตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญ
3. มีการแข่งขันรุนแรงสินค้าไม่มีความแตกต่างกัน โอกาสในการเติบโตน้อย และสัดส่วนกำไรก็น้อย
4. ต้องเลือกใช้กลยุทธ์อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างกลยุทธ์ด้านราคา หรือกลยุทธ์สร้างความแตกต่างเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
5. วิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ และใช้เวลากับการออกแบบฟอร์มส่วนใหญ่
6. นำแผนงานและแผนการปฏิบัติหลาย ๆ อย่างมารวมไว้ด้วยกันโดยไม่ได้กำหนดกลยุทธ์
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Red Ocean
ยกตัวอย่าง London Symphony orchestra ที่ใช้กลยุทธ์นี้ สร้างตลาดใหม่ ด้วยการผสมผสานจุดเด่นของดนตรีคสาสสิกกับดนตรีป๊อป เป็นสิ่งดึงดูดผู้คนให้เข้ามาชม และเปลี่ยนรูปแบบการแสดงจากเดิมที่ใช้นักดนตรีจำนวนมาก ก็ลดลงเหลือแค่ 1 ใน 3 และเปลี่ยนสถานที่แสดง เป็นที่แยงกี้สเตเดี้ยม ช่วยให้ลดต้นทุนได้มากขณะเดียวกัน ก็ทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงดนตรีคลาสสิกได้ง่ายขึ้น เพราะรูปแบบการนำเสนอที่เปลี่ยนไป ทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างง่ายดาย จากเดิมที่คนที่นิยมดู จะเป็นกลุ่มคนสูงวัยและมีภาพลักษณ์หรูหราอลังการ
  • 3) กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy :WOR) เป็นพื้นฐานในการบริหารงานและใช้ชีวิตที่ตั้งมั่นอยู่บนคุณงามความดี มีศีลธรรม และปรับมุมมองจากการตักตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม โดยไม่วาง ตัวเองเป็นศูนย์กลาง และไม่เห็น ผลกำไรเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดจนละเลยมิติด้านอื่น จึงทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนความสมดุลย์ของ People (สังคม ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วน) Planet (ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและจิตภาพ) Profit (กำไรที่เหมาะสมและแบ่งปันกับส่วนรวม) โดยมี Passion ความมุ่งมั่นศรัทธาในการทำงานขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
หลักการของน่านน้ำสีขาวมีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ ได้แก่
1. การเกิดขึ้นและมีอยู่ขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม (Net Positive Impact on Society)
2. ตั้งเป้าหมายระยะยาวและมองภาพใหญ่ระดับมหภาค (Long-term Goal, Macro View)
3. แสวงหาจุดสมดุลระหว่าง People, Planet, Profit โดยมี Passion เป็นพลังขับเคลื่อน
4. ยืนบนหลักการของโลกอันอุดมสมบูรณ์ (The World of Abundance)
5. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริงและความเป็นเนื้อแท้ (Integrity)
6. เป็นองค์กรที่ระเบิดจากข้างใน และมีดีเอ็นเอของ Individual Social Responsibility (ISR)
7. เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการ (Set the Benchmark)
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ White Ocean
ยกตัวอย่างสตาร์บัคส์ (STARBUCKS) ที่ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักปฏิบัติทั้ง 6 ประการที่ปรากฏในปรัชญาบริษัท โดยทำงานเพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรมและโลกด้วยนโยบายรับซื้อเฉพาะกาแฟที่มีใบรับรองการค้าที่ชอบธรรม พยายามลดการผลิตสิ่งตกค้างที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม และเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นทั้งหมดนี้ส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึกดีในการซื้อสินค้าแบรนด์สตาร์บัคมากยิ่งขึ้น
หรือ BURT'S BEES เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เดินมาในเส้นทางนี้ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของความต่อเนื่องมั่นคงในข้อความที่สื่อออกไปและแนวปฏิบัติเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรแม้ไม่ใช่เส้นทางเดินที่เรียบง่ายเสมอไป บริษัทเป็นแกนนำคู่แข่งและสมาคมสินค้าจากธรรมชาติในการสร้างแคมเปญเพื่อการบัญญัติศัพท์คำว่า "ธรรมชาติ" ลงในฉลากสินค้า โดยให้ความช่วยเหลือในการสร้างระบบมาตรฐานใหม่ Burt's Bees เป็นผู้ชนะในเกมครั้งนี้
ถึงแม้ว่าบริษัทอาจต้องปรับปรุงสินค้าถึงครึ่งหนึ่งของไลน์เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่ก็ตาม แต่นั่นจะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในแบรนด์อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้บริโภคได้รู้ว่าเมื่อพวกเขาเห็นคำว่า "ธรรมชาติ" แบรนด์หมายความเช่นนั้นจริงๆ

     White Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว ผลงานล่าสุดของ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย เปิดเผยเคล็ดลับของบุคคลและองค์กรชั้นนำทั้งของไทยและต่างประเทศที่ตั้งมั่น อยู่บนเส้นทางสีขาว ทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนในการเปลี่ยนแปลงสังคม ตอกย้ำสัจธรรม ทำดีย่อมได้ดีเสมอเป็นพลังแสงบริสุทธิ์ที่จะส่องสว่างกลางใจผู้อ่าน สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งชีวิตและโลกแห่งการแข่งขัน ให้ก้าวข้ามพันธนาการเดิมสู่อิสรภาพอันยิ่งใหญ่และงดงาม White Ocean Strategy จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการฝ่าวิกฤตทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ทุกคน กำลังเผชิญอยู่


     การเกิดขึ้นของ Red Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีเลือด ถือเป็นหนทางหนึ่งที่เคยช่วยให้หลายธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ในความสำเร็จนั้นกลับก่อให้เกิดความรุนแรงในแวดวงธุรกิจ เพราะด้วยวิถีทางแห่งกลยุทธ์น่านน้ำสีเลือด การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็น เบอร์หนึ่งถือเป็นจุดประสงค์หลักของกลยุทธ์นี้ แต่การมุ่งเอาชนะคู่แข่ง เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่าโดยไม่สนใจสิ่งอื่นใดนั้น นอกจากจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดแล้ว ยังมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจด้วยกันทุกฝ่าย

     Blue Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม จึงเป็นแนวทางดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นตามมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางการ ตลาดแบบเดิม กลยุทธ์น่านน้ำสีครามจะไม่แข่งขันผลิตสินค้ารูปแบบเดียวกันป้อนสู่ตลาด ไม่เอาชนะกันด้วยสินค้าลอกเลียนแบบ แต่จะเลือกพัฒนาสินค้าของตนให้แหวกแนวไปจากที่มีอยู่ เน้นความเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ไม่เคยมีมาก่อน ใช้ นวัตกรรมและ ความต่างเป็นตัวดึงดูดความสนใจของลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์นี้เคยสร้างยอดขายถล่มทลายมาแล้วในสินค้าหลายชนิด แต่กลยุทธ์น่านน้ำสีครามก็ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจต้องเหนื่อยกับการคิดค้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อวิ่งหนีคู่แข่ง ซึ่งนั่นคือการหนีที่ไม่มีวันสิ้นสุด!



                        Blue Ocean Strategy VS Red Ocean Strategic
กลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน VS กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง

            ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในระดับมหภาคและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องมีการจัดการองค์ความรู้ เสริมสร้างความสามารถหลัก (core
competency) และความชำนาญของธุรกิจ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งมี
วิสัยทัศน์ในการมองภาพรวมของธุรกิจได้อย่างชัดเจนมีกระบวนทัศน์ในการทำงาน มุ่งเน้นการ
บริหารงานในเชิงรุก มีการกำหนดความต้องการและทิศทางของธุรกิจ เพื่อให้ทุกปัจจัยของ
ธุรกิจดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น และมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยผ่านกระบวนการใน
การวิเคราะห์ข้อมูล หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการตัดสินใจ วางแผนการกำหนดกล
ยุทธ์ การดำเนินกลยุทธ์ การควบคุม หรือการตรวจสอบกลยุทธ์ อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงการ
ดำเนินงานอย่างเป็นระบบที่เรียกว่า “การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

            กลยุทธ์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบันนี้คือ กลยุทธ์
ทะเลสีน้ำเงิน(Blue Ocean Strategy: BOS) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการ
แข่งขันแบบดั้งเดิม ผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้าง
ความต้องการใหม่ ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอ โดยใช้นวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ หรือ
เป็นทะเลใหม่ๆ ซึ่งเป็นทะเลสีน้ำเงิน และกลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงินได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องมาจาก
มีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ ที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ ได้แก่
ธุรกิจกาแฟสตาร์บัค (Star Buck), สถานีข่าว ซีเอ็นเอ็น (CNN), ธุรกิจคอมพิวเตอร์เดล (Dell
Computer), ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (South West Aieline), ธุรกิจหนังสือออนไลน์
(Amazon.Com) หรือหากเป็นในประเทศไทย ได้แก่ ฮอต พอท (Hot Pot) ซึ่งเป็นสุกี้รวมกับ
อาหารญี่ปุ่น ถ้าตั้งชื่อเป็นสุกี้จะไม่สามารถเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าที่มีร้าน MK สุกี้ตั้งอยู่
มาก่อน โดย ฮอตพอท (Hot Pot) ได้แต่เปลี่ยนชื่อใหม่จากสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทำให้เข้าสู่พื้นที่
ว่างของตลาดใหม่ได้และกำลังได้รับความนิยมตลาดในขณะนี้
            ดังนั้น หากผู้ประกอบการจะสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นกลยุทธ์แบบ ทะเลสีน้ำเงินเพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของตนเองในเวลานี้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเหตุผลด้วยราคาที่ต่ำ หรือซื้อที่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หลังจากนั้นจึงเริ่มมาวิเคราะห์ว่าใครคือผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของธุรกิจเรา
(Non-Custommer)
            อดีตที่ผ่านมา ธุรกิจส่วนใหญ่ได้ใช้กลยุทธ์หนึ่งที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต คือ
กลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่ง และ
การแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือหาทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด ส่วน
ใหญ่แล้วจะนำไปสู่การแข่งขันและการตอบโต้อย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการแข่งขันใน
อุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่มีความแตกต่างกัน ทำ
ให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจทั้งสองฝ่าย ด้วยกลวิธีนี้ทำ
ให้เป็นที่มาของการแข่งขันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นนั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์
ทางการทหารดังนั้น ผู้เรียบเรียงขอนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์แบบเก่า
            กลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS) และกลยุทธ์ใหม่ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน
(Blue Ocean Strategy: BOS) รวมถึงวิธีการสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ นั้น ผู้ประกอบการทำ
อย่างไรได้บ้าง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS)
1. อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีขอบเขตชัดเจน และคำนึงถึงลูกค้าเก่า ๆ
2. บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมพยายามเอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา
มองการได้ส่วนแบ่งตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญ
3. มีการแข่งขันรุนแรงสินค้าไม่มีความแตกต่างกัน
โอกาสในการเติบโตน้อย และสัดส่วนกำไรก็น้อย
4. ต้องเลือกใช้กลยุทธ์อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างกลยุทธ์ด้านราคา หรือกลยุทธ์สร้าง
ความแตกต่างเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
5. วิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ และใช้เวลากับการออกแบบฟอร์มส่วนใหญ่
6. นำแผนงานและแผนการปฏิบัติหลาย ๆ อย่างมารวมไว้ด้วยกันโดยไม่ได้กำหนดกลยุทธ์
2. ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS)
2.1 เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีในปัจจุบันและไม่ทราบมาก่อนว่ามี
อุตสาหกรรมประเภทนี้รวมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม
2.2 สร้างอุปสงค์ใหม่ขึ้นมา (New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น
2.3 ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่เปรียบเทียบกัน
2.4 สามารถใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้
เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)
2.5 มองภาพใหญ่ โดยไม่มุ่งเน้นเรื่องจำนวน และไม่ยึดติดกับผลการวิเคราะห์
2.6 ใช้แรงจูงใจในการทำงานไม่ใช่แรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน

            ฉะนั้น หัวใจสำคัญของ “Blue Ocean Strategy” คือ สิ่งที่เรียกได้ว่า “ValueInnovation” ในส่วนนี้เป็นการผสมผสานระหว่างคำว่าคุณค่าอย่างสร้างสรรค์ (Value) และคำว่านวัตกรรม (Innovation) หลักการสำคัญของ BOS คือจะต้องมีทั้ง Value และ Innovationบูรณาการร่วมกันทั้งสองอย่างควบคู่กันไปไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถก่อให้เกิดกลยุทธ์ BlueOcean Strategy ได้เช่นกัน

            อย่างไรก็ตาม อาจมีบางธุรกิจที่มีแต่เรื่องของนวัตกรรมเพียงอย่างเดียวโดยขาดการ
นำเสนอคุณค่า(Value) ก็มักจะเป็นเรื่องของนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นพัฒนา
เทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าใด ๆ แก่ลูกค้า หรืออีกนัยหนึ่ง
คือ การนำเสนอสิ่งที่อยู่เกินขอบเขตหรือนอกเหนือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้น เพื่อนำไปสู่
ความสำเร็จขององค์กรอย่างแท้จริง ธุรกิจคงจะต้องมีทั้งเรื่องของ คุณค่าและ นวัตกรรม
ควบกันไปอย่างคู่ขนานนอกจากนี้ นวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation) สามารถสร้างขึ้นได้ดังนี้
1. จับตาดูคู่แข่งได้ แต่อย่าเอามาเป็นมาตรวัด และไม่ใส่ใจกับการแข่งขันมากเท่าใดนัก
2. ต้องไม่เสนอลูกเล่นพิเศษต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าที่เกิดจากแรงกดดันของการแข่งขัน
3. ลองคิดอะไรใหม่ ๆ นอกกรอบ และไม่ควรให้ข้อจำกัดมาขัดขวางการสร้างความแตกต่าง
4. ต้องมองในภาพรวม (Holistic) และคำนึงถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง แทนที่จะเสนอ
แต่สิ่งเดิม ๆ ที่อุตสาหกรรมได้เคยทำมาก่อน
            อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างอีกประการที่สำคัญระหว่าง “Blue Ocean Strategy” กับ
แนวคิดการบริหารกลยุทธ์แบบเดิม “Red Ocean Strategy” คือ ภายใต้แนวคิดแบบเดิม ๆ
นั้น การที่จะประสบความสำเร็จได้ องค์กรจะต้องเลือกแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งว่าจะมุ่งเน้น
การนำเสนอความแตกต่างให้กับลูกค้า (Differentiation) หรือ เน้นการเป็นผู้นำที่มีต้นทุนต่ำ
(Cost Leadership) โดยไม่สามารถเป็นทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กัน (เพราะการนำเสนอความ
แตกต่าง จะไม่ทำให้เกิดต้นทุนที่ต่ำที่สุด)แต่ภายใต้แนวคิดของ “Blue Ocean” นั้น
            องค์กรที่ใช้“Blue Ocean Strategy” สามารถจะเป็นผู้ที่นำที่เสนอได้ทั้งความแตกต่าง และมุ่งเน้นการลดต้นทุนไปพร้อม ๆ กัน โดยการลดต้นทุนนั้นจะเกิดขึ้นจากการลดหรือกำจัดปัจจัยบางประการที่เคยมีอยู่ให้หมดไป (Reduce หรือ Eliminate) ส่วนการนำเสนอคุณค่าและความแตกต่างแก่ลูกค้านั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มหรือสร้างสรรค์ปัจจัยบางประการที่คนอื่นไม่มี หรือมีน้อยให้กับลูกค้า (Create หรือ Raise) ดังแนวคิด “Blue Ocean Strategy” ที่มีองค์ประกอบ 6 มิติด้านหลักการที่เป็นกฎเกณฑ์ และการลดปัจจัยที่เป็นความเสี่ยง
6 มิติหลักสำคัญของ ‘‘Blue Ocean Strategy’’หลักการที่เป็นกฎเกณฑ์ การลดปัจจัยที่เป็นความเสี่ยง
1. ขยายเครือข่าย สาขาของอุตสาหกรรม                                            1. ลดความเสี่ยงในการหาตลาดใหม่
2. เน้นภาพรวม (Holistic) ไม่เน้นปริมาณ เช่น                                   2. ลดความเสี่ยงในการวางแผน
ยอดขายจำนวนลูกค้า หรือกำไร
3. อย่าคิดถึงความต้องการแบบเดิม ๆ                                                3. ลดความเสี่ยงด้านขนาด
4. จัดลำดับความสำคัญ และวางกลยุทธ์ให้เหมาะสม                             4. ลดความเสี่ยงในโมเดลธุรกิจ
หลักการที่เป็นการปฏิบัติ                                                               การลดปัจจัยที่เป็นความเสี่ยง
5. เอาชนะอุปสรรคภายในองค์การ                                                     5. ลดความเสี่ยงในองค์การ
6. กำหนดแนวทางในการวางกลยุทธ์                                                  6. ลดความเสี่ยงด้านการจัดการ


            เครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญประการหนึ่งของกลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน คือ สิ่งที่เรียกว่า
“Five Actions Framework” ซึ่งเป็นคำถามห้าประการที่ทุกองค์กรควรจะทบทวนตนเอง
เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ที่นำเสนอทั้งความแตกต่างและการมีต้นทุนต่ำ
ดังต่อไปนี้
·       1.อะไรคือปัจจัยที่เคยคิดว่าสำคัญ หรือจำเป็น และในปัจจุบันไม่สำคัญและจำเป็นอีก
ต่อไปอีกทั้งควรที่จะตัดออกไป เช่น การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เคยคิดว่า ลูกค้า
ต้องการ แต่จริง ๆ แล้วในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้
·       2. อะไรคือปัจจัยที่สามารถลดลงให้เหลือต่ำกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม โดยการ
ลด (Reduced)การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะเคยคิด
ว่าคุณค่านั้น ๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริง ๆ แล้วอาจจะไม่มากอย่างที่ตนเองคิดก็ได้
·       3. อะไรคือปัจจัยที่ควรที่จะยกให้สูงกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม โดยการการเพิ่ม
(Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม
·       4. อะไรคือปัจจัยใหม่ที่องค์กรควรจะพัฒนาขึ้นมา อีกทั้งยังไม่มีการนำเสนอใน
อุตสาหกรรมใด ๆมาก่อน โดยการสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ
ในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
·       5. อะไรที่ดี มีประโยชน์และมีความเป็นปัจจุบัน องค์กรควรต้องรักษาไว้ (Maintain)

            บทสรุป อย่างไรก็ตามการนำกลยุทธ์อะไรมาประยุกต์ใช้นั้น ย่อมจะมีทั้งข้อดีและ
ข้อเสีย หากไม่ทำการศึกษา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่สัมพันธ์และ
เกี่ยวข้องก่อนแล้ว ย่อมทำให้มีผลกระทบ อีกทั้งการดำเนินธุรกิจนั้นไม่มีกฏเกณฑ์ สูตรสำเร็จ
ตายตัว และไม่มีกลยุทธ์ไหนที่จะสามารถช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เหมือนกันหมดทุกปัจจัย
แต่ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละองค์กร ความเหมาะสมและความพร้อมในการนำกลยุทธ์ต่าง ๆ
เข้ามาประยุกต์ใช้ อีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้วิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการ หรือผู้จัดการที่มีเทคนิค
รูปแบบการบริหารองค์กรที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ
ดังนั้น กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงินนี้ “Blue Ocean Strategy” จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเท่านั้น
สำหรับการที่จะนำไปปรับใช้หรือไม่ อย่างไร แค่ไหนนั้น ก็ย่อมขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้
วางแผนกลยุทธ์นั้นเองเป็นสำคัญ

1 ความคิดเห็น:

  1. สัมมนานี้ตอบโจทย์ครับ คนอยากหนีมาทำตลาด Blue ocean กันเยอะ ผมไปมาและ ทำตลาดแบบ Dropship ไม่ต้องสต็อค มีระบบจัดส่งให้ ขยายตลาดต่างประเทศได้
    ช่วงนี้เค้าเปิดสัมมนาอยู่นะครับ https://bit.ly/2y4SifI

    ตอบลบ