วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การควบรวมกิจการ(Merger and Acquisitions)

‎1. การควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด(มหาชน) และบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด(มหาชน) ภายใต้การดูแลของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
2.คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ชิคเก้นออฟเดอะซี ตลาดสหรัฐอเมริกา
3.บริษัท การบินไทย จำกัด ควบรวมกับ บริษัทเดินอากาศไทย -
4.การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปี 2547 
5.การควบรวมกิจการระหว่างห้างเซ็นทรัล กับโรบินสัน 

6. EGV กับ Major เป็นต้น
7.การควบรวมกิจการ (Merger) ของซันคอร์ และ ปิโตรแคนาดา
8.การควบรวมกิจการระหว่างพีแอนด์จีกับยิลเลตต์
9.บริษัทเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำกัด(มหาชน) กับ บริษัทอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน)ควบรวมกิจการกันด้วยการแลกหุ้นกัน
10.สายการบินเดลต้า แอร์ไลน์ ควบรวมกับ นอร์ธเวสต์ แอร์ไลน์










“M&A - Create The Power to Strengthen Your Business”
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนได้สร้างแรงกดดันให้ธุรกิจทุกประเภทต้องรับมือกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเตรียมพร้อมด้วยการจัดเตรียมองค์กรให้เข้มแข็งในทุกๆ ด้านการควบรวมกิจการ (M&A: Merger and Acquisition) เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่บริษัทชั้นนำทั่วโลกหลายแห่งนำมาใช้ เพื่อต่อสู้และช่วงชิงโอกาสในโลกของการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการนำพาบริษัทก้าวไปสู่การเป็นบริษัทชั้นนำ
ดร.ก้องเกียรติ  โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร   บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการควบรวมกิจการในเศรษฐกิจยุคปัจจุบันว่า จากสถิติการควบรวมกิจการทั่วโลกเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนถึง 20,000 รายการ/ปี หรือมีมูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกลุ่มธุรกิจหลัก ๆ ที่มีการควบรวมกัน คือ สถาบันการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคมและธุรกิจค้าปลีก
ในขณะที่สถิติการควบรวมกิจการในเขตเอเชียแปซิฟิกนั้น มีจำนวน 6,000 รายการต่อปี คิดเป็นจำนวน 1 ใน 3 เท่า แต่มีมูลค่าเพียง 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ  หรือไม่ถึง 1 ใน 10 ของมูลค่าการควบรวมที่มีทั้งหมดในโลก โดยกลุ่มธุรกิจหลักๆ ที่มีการควบรวมกันในแถบเอเชียแปซิฟิกคือ ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจหลักทรัพย์
แนวโน้มการควบรวมยังคงมีทิศทางที่มากขึ้น เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้ทุกอย่างไม่มีขอบเขต โลกแบนและเล็กลง และนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาที่รวดเร็ว
นอกจากนั้น ดร.ก้องเกียรติยังระบุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องมีการควบรวมกิจการคือ การเปิดเสรีทางการค้า เกิดการประหยัดต่อขนาด การเพิ่มผลิตภัณฑ์และขยายตลาด การพัฒนาทรัพยากร การรวมศักยภาพทางการผลิต  การจำกัดการแข่งขันในอุตสาหกรรม และการขยายธุรกิจใหม่หรือต่อยอดทางธุรกิจ
บริษัท นิวส์คอร์ป ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อครบวงจรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการควบรวมและเติบโตอย่างต่อเนื่อง นับจากปี 2549 ที่ก่อตั้งขึ้น โดยเริ่มจากการเป็นเพียงหนังสือพิมพ์ขนาดกลางในระดับท้องถิ่นเท่านั้น นอกจากนั้นการควบรวมกันของธุรกิจการเงิน เจพีมอร์แกนกับธนาคารเชสแมนฮัตตันและแบงค์วันคอร์ป ที่สามารถประหยัดต้นทุนได้ทันทีกว่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกลายเป็นสถาบันการเงินที่มีความเชี่ยวชาญทั้งตลาดลูกค้าสถาบันและลูกค้ารายย่อยทันทีเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งของการควบรวมธุรกิจที่ต้องระวังคือ การวางเป้าหมายในการควบรวมให้ชัดเจน พิจารณาถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นรวมถึงการคำนึงถึงวัฒนธรรมขององค์กรที่จะสามารถร่วมหรือปรับเข้าหากันได้หรือไม่
หากการควบรวมเป็นเพียงแฟชั่น โดยไม่เกิดประโยชน์แท้จริงแล้วย่อมจะประสบความสำเร็จได้ยาก ขณะเดียวกันทุกฝ่ายต้องเก็บข้อมูลเป็นความลับ หากราคาหุ้นหรือปริมาณการซื้อขายหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดมีความผิดปกติหรือมีนัยสำคัญ ถือเป็นสัญญาณที่ไม่ดี ควรปล่อยไปอีกระยะหนึ่งจึงค่อยมาคุยกันใหม่หากยังสนใจที่จะควบรวมกิจการจริงๆ
ด้าน ม.ล. ชโยทิต  กฤดากร  กรรมการผู้จัดการ  บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด มองว่าการควบรวมกิจการเป็นกลไกสำคัญในการสร้างสีสันให้กับตลาด โดยกุญแจสำคัญที่จะทำให้การควบรวมกิจการประสบความสำเร็จคือ P/E ratio หรือ มูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งจะดึงดูดให้บริษัทที่มีสภาพคล่องหรือเงินสดจำนวนมากสนใจเข้ามาซื้อกิจการหรือทำการควบรวมได้
ความเสี่ยงที่ทำให้การเจรจาควบรวมกิจการกว่าครึ่งไม่ประสบความสำเร็จคือ การไม่สามารถตกลงกันในเรื่องของราคาหุ้นหรือมูลค่าสินทรัพย์ ตลอดจนถึงระดับความแตกต่างกันของวัฒนธรรมแต่ละองค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำต้องคำนึงถึงอย่างใกล้ชิด
คุณกิติพงศ์  อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการ  บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด กล่าวอย่างมั่นใจว่า ธุรกิจในประเทศไทยหนีไม่พ้นการที่ต้องควบรวมเนื่องจากการเปิดการค้าเสรี ซึ่งการควบรวมให้ประสบความสำเร็จมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ ผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นและการวางแผนเรื่องภาษี
ร้อยละ 49.5 ของการควบรวมกิจการที่ประสบความสำเร็จนั้นมาจากการที่สามารถสร้างผลประโยชน์ที่ดีต่อผู้ถือหุ้นได้นั่นเอง รวมทั้งการพิจารณาอัตราภาษีที่ต้องจ่ายทั้งในแง่ของผู้ขายและผู้ซื้อ เนื่องจากภาษีเป็นต้นทุนที่สำคัญในการควบรวมกิจการ หากเป็นธุรกิจเฉพาะในประเทศไทยนั้นไม่ต้องเสียภาษี และประหยัดค่าโอนทรัพย์สินทรัพย์ด้วย
นอกจากนั้น การควบรวมที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องพิจารณารูปแบบต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุด อาทิ การตัดสินใจซื้อหุ้น หรือซื้อเฉพาะทรัพย์สิน หรือซื้อทั้งหุ้นและทรัพย์สินด้วย และปัจจัยสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึงคือ ระยะเวลาในการควบรวมที่ควรจะรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่ดำเนินการเจราจา หากใช้ระยะเวลานานจะเกิดข่าวลือที่มีผลเสียจนไม่สามารถประสบความสำเร็จในการควบรวมได้
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการไม่ต้องการให้ธุรกิจของตนถูกควบรวมหรือถูกซื้อกิจการ ควรมีการติดตามความเคลื่อนไหวของปริมาณและราคาหุ้นในตลาดอย่างใกล้ชิด มีการทำสัญญาห้ามซื้อขายหุ้นกับคณะกรรมการบริษัท หรือทำการปรับโครงสร้างธุรกิจโดยการแบ่งเป็นบริษัทย่อย
ปัจจุบัน การควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด(มหาชน) และบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด(มหาชน) ภายใต้การดูแลของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่นั้นกำลังถูกจับตามองเนื่องจากเป็นการควบรวมของกิจการที่มีขนาดใหญ่
คุณพิชัย  ชุณหวชิร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีองค์กร  บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) แสดงความมั่นใจต่อการควบรวมกิจการครั้งนี้ เนื่องจากเคยมีประสบการณ์การควบรวมภายในกลุ่มทั้งในแนวดิ่งและแนวนอนมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นการควบรวมครั้งนี้มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเพิ่มอัตราการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว อีกทั้งการควบรวมในช่วงเวลานี้ถือเป็นจังหวะที่ดีเพราะทั้ง 2 บริษัทมีฐานะการเงินที่ดีนั่นเอง
สิ่งที่ยากที่สุดในการควบรวมกิจการคือ เรื่องของบุคลากร ที่ต้องคุยกันแบบไทยๆ จะใช้แบบฝรั่งที่ปลดคนออกทันทีไม่ได้ ดังนั้นเราต้องมีการพูดคุยกับฝ่ายจัดการให้ชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะในทุกๆ องค์กรย่อมมีทั้งคนเกินและขาดคนในสายงานเฉพาะด้าน ซึ่งเราต้องแก้ไขจุดนี้และจัดคนให้เหมาะสมให้ได้ และในอนาคตเรายังคงให้ความสนใจที่จะต่อยอดทางธุรกิจ เพราะทุกวันนี้เรายังไปไม่ถึง ผู้บริโภคขั้นปลายอย่างแท้จริง
ด้านคุณธีรพงศ์  จันศิริ  ประธานกรรมการบริหาร   บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ที่ประกอบธุรกิจด้านการส่งออกปลาทูน่าและกุ้งด้วยมูลค่ายอดขายกว่า 60,000 ล้านบาทต่อปีจากเดิมที่อยู่ระดับ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยส่วนหนึ่งมาจากการต่อยอดธุรกิจด้วยการเข้าไปซื้อบริษัท ชิคเก้นออฟเดอะซี ซึ่งมีฐานลูกค้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ในตลาดสหรัฐอเมริกา
“8 ปีที่เราทำการซื้อมา ถือว่าคุ้มค่าทั้งในแง่ของตัวเงินและในแง่ของการพัฒนาการบริหารจัดการของบริษัท และเราถือว่า การลงทุนในครั้งนั้นเป็นโอกาสและจังหวะที่ดี และกลยุทธ์ที่สำคัญคือ เราจะไม่มองภาพดีจนเกินไป และต้องทำอย่างไรให้ผิดน้อยที่สุด นอกจากนั้นเรายังยึดนโยบายการลงทุนในธุรกิจทีเกี่ยวโยงกันเท่านั้น

 M&A:Merger & Acquisition
กรณีศึกษา ว่าที่ร้อยโท พิชัย สดภิบาล. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
การควบรวมกิจการในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ 5 โดยในยุคแรกของ การควบรวมกิจการ (ค.ศ.
1893-1904) ส่วนใหญ่เป็นการควบรวมกิจการตามแนวนอน (Horizontal Combination) คือการรวมตัวกันของกิจการที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งอาจผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเพื่อส่วนแบ่งทางการตลาด ยุคที่สองของการควบรวมกิจการ (ทศวรรษที่ 20) ลักษณะการควบรวมกิจการ
เปลี่ยนแปลงเป็นการควรรวมตามแนวดิ่ง คือการรวมตัวกันของบริษัทที่อยู่ในช่วงธุรกิจก่อนหน้า (Backward
Integration) เช่น ผู้ขายวัตถุดิบ หรือรวมกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจต่อเนื่องหลังการผลิต (Forward Integration) เช่น ผู้จัดจำหน่าย วัตถุประสงค์ของการควบรวมกิจการชนิดนี้ก็เพื่อขยายกิจการ และเพิ่ม
ประสิทธิภาพในด้านการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้[1]
สาเหตุของการควบรวมกิจการ[2]
1. วิกฤติเศรษฐกิจ
2. ลดภาวะต้นทุนการดำเนินการ
3. ภาวะตลาดหุ้ซบเซา
4. บริษัทมีฐานะเข็มแข็ง
5. ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มสูงขึ้น
6. สร้างความเจริญเติบโต
7. รองรับเสรีค่าคอมมิชชั่น
8. ปัญหาวอลุ่มระยะสั้นลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
9. เพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจให้ดีขึ้น
กระแสการควบรวมกิจการ (M&A:Merger & Acquisition)[3]
1. การแข่งขันสูง
2. เผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
3. สภาพแวดล้อมต่าง ๆ
a. ความต้องการของลูกค้า
b. เทคโนโลยี
c. สังคม
d. วัฒนธรรม
e. รูปแบบการดำรงชีพ
การควบรวมกิจการ ทุกอย่าจะสำเร็จได้ต้องมีการพิจาณาในรายละเอียด โดยเฉพาะ
1. แน่นอนว่าเสริมศักยภาพได้ดีจริง
2. สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดได้หรือไม่
3. ผลประกอบการ
4. การแข่งขัน
5. หลักทรัพย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น