วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

การใช้โปรแกรม Microsoft Word


การใช้โปรแกรม Microsoft Word 

bullet

ตอนที่ 3 การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเอกสาร (1 ชม.)

bullet
วัตถุประสงค์ของการเรียน:
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การใช้แม่แบบ(Template) 
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การกำหนดจุดสิ้นสุดของหน้ากระดาษ
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การเพิ่มข้อความที่หัวกระดาษ 
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การสร้างชุดรูปแบบ (Style)ใหม่
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การประยุกต์ใช้Theme ในเอกสาร
รูปแบบของตัวอักษร จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน  การย่อหน้าในเอกสาร ช่วยสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจข้อความได้ 
เวิร์ดมีเครื่องมือในการจัดรูปแบบ เช่นแม่แบบ (Templates) สไตล์(Styles) และ Themes ที่ทำให้เอกสารดูโดดเด่น การเปลี่ยนคุณลักษณะ (Attributes)ของตัวอักษร เช่น ตัวหนา (Bold) ตัวเอียง (Italic)  หรือเปลี่ยนสี กับคำหรือวลี  จะเพิ่มความ สอดคล้อง ความน่าตื่นตา ในเอกสารได้   
ในครั้งนี้  นักศึกษาสามารถจะสร้างแม่แบบใหม่(New Template) โดยปรับปรุงแม่แบบของเวิร์ด ทำการแทรกหน้า (Insert Page)และแบ่งเอกสารออกเป็นช่วงๆ (Section Breaks) ในเอกสารที่มีหลายหน้า และสามารถกำหนดการสิ้นสุดหน้า (Page Breaks) รวมทั้งการกำหนดไม่ให้ทิ้งคำ หรือวลีไว้ที่ด้านบน หรือด้านล่างของหน้า  
bullet
bullet

3.การใช้แม่แบบ (Template)  ที่เวิร์ดเตรียมไว้ให้

bullet
แม่แบบ (Template)
bullet
เป็นเอกสารพิเศษ ที่บันทึก ตัวอักษร (text) สไตล์ (Style) รูปแบบ (Format) รวมทั้งภาพกราฟิก   ที่ใช้เป็นแม่แบบของการสร้างเอกสาร  
bullet
ตัวอย่างแม่แบบ
bullet
bullet
ตัวอย่าง เช่น  แม่แบบ  Contemporary Letter จะมีจุดที่ผู้ใช้พิมพ์ข้อความได้ เรียกว่าPlaceholder ซึ่งจะแสดงอยู่ในวงเล็บ  เช่น[คลิกที่นี่และพิมพ์ชื่อของคุณ] หรือ [click here and type your name]  การเปลี่ยนแปลงข้อความ และสั่งบันทึกเอกสาร  แม่แบบจะไม่เปลี่ยนแปลง  และยังคงอยู่ให้สามารถนำไปใช้กับเอกสารอื่นๆ ได้

bullet
วิธีการเรียกใช้แม่แบบ (Template) ในเอกสาร
bullet
1.       โดยคลิกได้จาก Start > สร้างเอกสาร Office
2.       คลิกเลือกแท็บ Letters & Faxs
3.       คลิกที่ไอคอนของแม่แบบ Contemporary Letter จากนั้นคลิก OK
4.       ใส่ข้อมูลใน Document Placeholders
5.       บนเมนู File ให้คลิก Save As
6.       ในช่อง File name ให้พิมพ์ชื่อใหม่ จากนั้นคลิก Save
bullet
            
bullet

3.2 การเปลี่ยนแปลงจุดสิ้นสุดหน้า และตัวเลือก Page Break

bullet
การกำหนดจุดสิ้นสุดหน้า
bullet
เอกสารที่สร้างขึ้น  เมื่อมีความยาวมากกว่า 1 หน้า  ข้อความที่เกินหน้ากระดาษ เวิร์ดจะนำไปขึ้นหน้าใหม่ให้   โดยในมุมมอง Page Layout View จะนำข้อความที่เกินหน้ากระดาษ ไปขึ้นหน้าใหม่ให้ และในมุมมอง Normal  View จะปรากฏเส้นประแขวงแนวนอนตลอดหน้าให้เห็น เรียกว่า  Soft Page Breaks  ถ้าไม่ชอบตำแหน่งที่เวิร์ดแทรกตัวคั่นหน้า  สามารถกำหนดได้ด้วยตัวเอง  โดยใช้ Manual Page Break (ใช้คำสั่ง Insert > Break > Page break) ซึ่งจะปรากฏเป็นเส้นประเช่นกัน  พร้อมกับมีข้อความ Page Break กำกับอยู่ตรงกลาง 
bullet
  Automatic page break  Manual page break

bullet
การจัดเอกสารทั้งแนวตั้งและแนวนอนในไฟล์เดียวกัน  
bullet
รูปแบบทิศทางการวางหน้ากระดาษที่พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ เรียกว่า Page Orientation
bullet
ค่าเริ่มต้นในเวิร์ดกำหนดให้มีลักษณะเป็นแนวตั้งของกระดาษ เรียกว่า Portrait โดยด้านสูงยาวกว่าด้านกว้าง
ในทางกลับกันหากกำหนดให้ด้านกว้าง ยาวมากกว่าด้านสูง จะเรียกว่า Landscape 
bullet
เอกสารโดยทั่วไป  กำหนดทิศทางการวางข้อความหนึ่งรูปแบบ เป็นแนวตั้งหรือแนวนอน แต่สามารถจะกำหนดให้ในแฟ้มข้อมูล จัดวางหน้าทั้งแนวตั้งและแนวนอนร่วมกันได้  โดยใช้ตัวคั่นส่วน (Section Break)  แต่ละส่วนจะสามารถจัดวางหน้าคนละแบบได้ 
bullet
ตัวอย่างตัวคั่นส่วน
bullet
bullet
วิธีการกำหนดส่วน (section) ให้เอกสาร
  1. ที่ Menu bar คลิกคำสั่ง Insert > Break จะปรากฏกล่องโต้ตอบ Break
  2. เลือกตัวเลือก Next break  จากนั้นคลิก OK
bullet
การกำหนดทิศทางการวางหน้ากระดาษ
bullet
ที่ Menu bar คลิกคำสั่ง  File > Page Setup  ที่ส่วนของ Orientation คลิกเลือก  Landscape  หรือ Portrait  ให้กับเอกสารแต่ละส่วน
bullet
การกำหนดข้อความใน Paragraph  เดียวกัน  ปรากฏอยู่ในหน้าเดียวกัน
bullet
bullet
 วิธีกำหนด
bullet
1.      บน Menu bar คลิกคำสั่ง  Format > Paragraph คลิกแท็บ Line and Page Breaks
2.      เลือกเช็คบ็อกซ์ Window Orphan control ถ้าต้องการ และเลือกเช็คบ็อกซ์ Keep lines together จากนั้นคลิก OK

bullet
bullet

3.3 การเพิ่มข้อความที่หัวกระดาษหรือท้ายกระดาษในเอกสาร

bullet
การใส่เลขหน้า
bullet
ถ้ามีเอกสารหลายๆ หน้า จำเป็นต้องใส่เลขหน้า (Page Number) ตำแหน่งของเลขหน้าสามารถกำหนดให้ปรากฏให้อยู่ด้านบน หรือด้านล่างของหน้ากระดาษ  จัดให้อยู่ทางด้านซ้าย หรือตรงกลาง ตามต้องการ  
bullet
เลขหน้าในเอกสารที่แบ่งเป็นส่วนๆ
bullet
เอกสารที่มีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ  สามารถกำหนดหัวกระดาษ และท้ายกระดาษ แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของหน้ากระดาษได้ 
bullet
วิธีการ
bullet
1.       บนเมนู View ให้คลิก Header and Footer
2.       ให้ใช้แถบเครื่องมือ Header and Footer (หัวกระดาษและท้ายกระดาษ) และให้เลือกชนิดของตัวอักษรของหัวกระดาษ และ/หรือ ท้ายกระดาษ
3.       ให้ใช้แถบเครื่องมือ Header and Footer (หัวกระดาษและท้ายกระดาษ) เพื่อจัดรูปแบบ และเปลี่ยน ชนิดของตัวอักษรของหัวกระดาษ และ/หรือ ท้ายกระดาษ
4.       ในแถบเครื่องมือ หัวกระดาษ และท้ายกระดาษ ให้คลิกที่ปุ่ม Close
bullet
bullet

3.4 การประยุกต์ใช้ Theme ในเอกสาร

bullet
Theme
bullet
เป็นรูปลักษณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ Theme เกี่ยวข้องกับ สไตล์ของตัวอักษรที่จัดรูปแบบให้มีความพิเศษ เช่น อักษรตัวเล็ก มีการแรเงา การให้เฉดสี รายการของสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย (Bullet) ที่ออกแบบพิเศษ สีของพื้นหลัง การใช้เอฟเฟ็กซ์ (Effect) และรูปภาพ  แต่ละ Theme มีการออกแบบแตกต่างกันไป
bullet
ตัวอย่าง
bullet
bullet
วิธีการ
bullet
1.       บนเมนู Format ให้คลิกที่ Theme
2.       ในรายการ Choose a Theme ให้คลิก Theme
3.       เลือกเช็คบ็อกซ์ Vivid Colors เพื่อทำให้สีสันดูสดใสขึ้น ใน Theme
4.       คลิก OK
bullet
bullet

ตอนที่ 4 การพิสูจน์อักษร และการพิมพ์เอกสาร (1 ชม.)

bullet
เวิร์ด มีเครื่องมือช่วยพิสูจน์อักษร สามารถตรวจสอบตัวสะกด ไวยากรณ์ในเอกสาร   และก่อนที่จะพิมพ์เอกสาร สามารถ Preview เอกสาร เพื่อดูโครงร่าง และปรับปรุงก่อนที่จะพิมพ์เอกสารออกมา

วัตถุประสงค์การเรียน:
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การใช้เครื่องมือตรวจสอบการสะกด และไวยากรณ์
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การจัดการเอกสารก่อนการพิมพ์(Print Preview)  

bullet
bullet

4.1 การตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์ในเอกสาร

bullet
การพิสูจน์ตัวอักษร
bullet
เป็นการตรวจสอบการสะกดคำ การแก้ไขความผิดพลาดของไวยากรณ์  ก่อนที่จะส่งเอกสารให้คนอื่น ไม่ว่าจะเป็น electronic file หรือเป็น Hard Copy ควรจะพิสูจน์อักษรของเอกสารก่อน   เอกสารที่มีความผิดพลาดในการสะกด และผิดไวยากรณ์ จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกไม่ประทับใจ  เวิร์ดมีความสามารถในการSpelling and Grammar เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ที่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการจัดทำเอกสาร   
bullet
 คำที่สะกดผิด
bullet
*       คำที่สะกดผิด เวิร์ดจะใช้เส้นหยักสีแดง (Red Wavy Line) 

bullet
คำที่ผิดไวยากรณ์
bullet
*       คำที่ผิดไวยากรณ์ จะใช้เส้นหยักสีเขียว(Green Wavy Line)

bullet
การแก้ไข
bullet
ผู้ใช้สามารถคลิกขวาที่คำที่ถูกขีดเส้น เพื่อให้แสดงรายการที่มีคำที่ถูกต้อง หรือแนะนำไวยากรณ์ที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถเลือกได้
bullet
การตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งเอกสาร
bullet
สามารถทำได้ โดยคลิกที่ปุ่ม Spelling and Grammar บนแถบคำสั่ง Tools  เมื่อเริ่มต้นตรวจสอบ เวิร์ดจะเปรียบเทียบแต่ละคำในเอกสารกับคำในDictionary ที่มีอยู่ในโปรแกรม เวิร์ดจะหยุดที่เส้นหยักสีแดง และสีเขียวแต่ละเส้น เพื่อแสดงเหตุผลที่ผิดพลาด
bullet
ถ้ามีการสะกดคำผิด 
bullet
เวิร์ดจะให้คำที่เหมาะสม เป็นรายการให้เลือก
bullet
ถ้าไวยากรณ์ผิดพลาด
bullet
เวิร์ดจะแสดงปัญหาที่เกิดขึ้น และให้คำแนะนำที่จะแก้ไขข้อผิดพลาด
bullet
การใช้ Thesaurus
bullet
เพื่อให้มั่นใจว่าในเอกสารมีการใช้คำที่ถูกต้อง เช่น ภาษาที่ใช้ในจดหมายที่ส่งให้เพื่อน จะต่างกับจดหมายทางธุรกิจ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ Thesaurus ที่มีอยู่ในเวิร์ดได้ โดย
bullet
เลือก (Select) คำที่ต้องการ คลิกเมาส์ที่เมนูคำสั่ง Tools > Language > Thesaurus
bullet
จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Thesaurus แสดงรายการคำเหมือน (Synonyms) ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน
bullet
วิธีการ
  1. บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน ให้คลิกที่ปุ่ม Spelling and Grammar
  2. ใช้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Spelling and Grammar เพื่อให้มีการตอบสนองกับตัวอักษรซึ่งเป็นตัวที่ต้องการจะตรวจสอบ
  3. คลิก OK เพื่อปิดข้อความเตือน ซึ่งเวิร์ดจะสิ้นสุดการตรวจสอบการสะกดคำ และไวยากรณ์ในเอกสาร
bullet
bullet

4.2 การดูภาพตัวอย่างก่อนการพิมพ์

bullet
ก่อนที่จะพิมพ์เอกสาร  สามารถตรวจสอบเอกสารได้ว่า จะปรากฏในหน้ากระดาษอย่างไร โดยใช้คำสั่ง Print Preview 
bullet
คำสั่ง Print Preview 
bullet
จะแสดงเอกสารในแต่ละหน้า 
bullet
สดงข้อความที่หัวกระดาษ ข้อความที่ท้ายกระดาษ
bullet
ที่มุมมองก่อนพิมพ์ (Print Preview) 
bullet
ถ้าตัวชี้เมาส์เป็น Magnifier จะไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ 
bullet
หากต้องการแก้ไขต้องยกเลิกสภาวะคำสั่ง Magnifier   
bullet
สามารถปรับแก้ไขการเว้นขอบกระดาษ, การกำหนดระยะกั้นซ้าย-ขวา ในแต่ละย่อหน้าได้   
bullet
วิธีการ
  1. บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน ให้คลิกที่ปุ่ม Print Preview
  2. ใช้เมาส์ที่มีสัญลักษณ์  เพื่อขยายภาพ  แล้วเมาส์จะเป็นสัญลักษณ์ -  เพื่อลดการขยาย
  3. ที่แถบ Ruler bar ทั้งด้านบน และด้านล่าง ใช้เมาส์เลื่อนเพื่อปรับระยะการเว้นขอบกระดาษ
bullet
bullet

4.3 การพิมพ์เอกสาร

bullet
การพิมพ์เอกสาร จะต้องให้ความสนใจ
bullet
*       ชื่อ ตำแหน่ง และสถานภาพ (Name, Type, Status) ของเครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งไว้
bullet
วิธีการ
  1. บนเมนู File คลิก Print
  2. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Print ให้เลือกเครื่องพิมพ์ จากนั้นเลือกตัวเลือกในการพิมพ์ที่ต้องการจะใช้
  3. คลิก OK
bullet

แบบฝึกหัดครั้งที่ 2. 

bullet
1.  คลิกแฟ้มข้อมูล Script.doc  นี้  
bullet
2.  บันทึกแฟ้มข้อมูล โดยกำหนดชื่อไฟล์เป็น <รหัสประจำตัวนักศึกษา>_word2    
bullet
3.  ให้กำหนดจุดสิ้นสุดหน้า โดยให้ Insert Point อยู่ที่ Page 1  Line 24  Colume 1 (1.0   Overview)  ให้แทรก Manual Page break
bullet
4.  ให้กำหนดจุดคั่นส่วน (Section break) โดยให้ Insert Point อยู่ที่ Page 2  Line 47  Colume 1 (3.1   System Variablesแทรก Section Break แบบ  Next break
bullet
5.  ให้กำหนดจุดคั่นส่วน (Section break) โดยให้ Insert Point อยู่ที่ Page 4  Ln 17 Col 1 (4.0   String Literals)  แทรก Section Break เป็นแบบ  Next break   
bullet
6.  ให้กำหนดแนวการวางหน้ากระดาษของเอกสาร section ที่ 2 เป็นแนวนอน  โดยเลื่อน Insert Pointer ไปที่ Section ที่ 2  กำหนด Page Setup ให้วางหน้ากระดาษเป็นLandscape
bullet
7.  ให้กำหนดเลขหน้าในเอกสาร ให้อยู่ด้านบน ที่มุมบนด้านซ้าย
bullet
8.  ให้กำหนด Theme  ให้เอกสาร โดยเลือกใช้แบบใดก็ได้   
9.  บันทึกการแก้ไข โดยการ Save
bullet
10.ที่ท้ายเอกสาร ให้เพิ่ม Section ที่ 4
bullet
11.คัดลอกข้อมูล (Select แล้ว Copy) จากปุ่มคลิกต่อไปนี้ แล้วนำไปวางไว้ใน section ที่ 4  
bullet
12.ให้พิสูจน์อักษร (ตรวจสอบคำถูกผิด) ในการพิมพ์เอกสารดังกล่าว
bullet
13.พิจารณาการจัดข้อความที่มีเนื้อหาต่อเนื่องกัน ให้อยู่ในย่อหน้า (paragraph) เดียวกัน   
bullet
14.กำหนดเอกสารให้ใช้กระดาษขนาด A4 
bullet     --- เอกสารแนวตั้ง (Portrait) เว้นขอบกระดาษ ด้านบน และด้านซ้าย 1.5 นิ้ว  ด้านขวา และด้านล่าง 1 นิ้ว
bullet     --- เอกสารแนวนอน (Landscape) เว้นขอบกระดาษ ด้านบน และด้านขวา 1.5 นิ้ว  ด้านซ้าย และด้านล่าง 1 นิ้ว
bullet
15. ข้อความใน section ที่ 4 แต่ละย่อหน้า (paragraph) ให้กำหนดย่อหน้า (first line indent) ที่ 0.5 นิ้ว กำหนด alignment เป็น justified
bullet
16.ใส่ข้อความ  ชื่อ นามสกุล และรหัสนักศึกษา  เป็นข้อความ Footer  ปรากฏที่ท้ายกระดาษด้านซ้ายของทุกหน้า
bullet
17.ลิกคำสั่ง File > Properties คลิกเลือก Tab Summery ที่ช่อง Author ให้พิมพ์ ชื่อ นามสกุล และรหัสนักศึกษา
bullet18. การจัดส่งแฟ้มข้อมูล...
  1. ส่งฟล์ที่ Eclassnet
  2. กำหนดประเภทงานเป็น "กิจกรรม" ที่ "2" กำหนดชื่อเรื่องเป็น "การใช้ Word ครั้งที่ 2 Template & Thesaurus"
  3. ส่งไฟล์ภายในสัปดาห์ที่เรียน (วันศุกร์ 
  4. งานที่ส่ง นักศึกษาจะต้องตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว (สามารถเปิดไฟล์เพื่อตรวจให้คะแนนได้)
  5. - การคัดลอกงาน ถือว่าเป็นความตั้งใจของผู้ให้ลอก และผู้ลอก และจะเป็นผลให้ไม่ได้รับคะแนน
  6. - การส่งงานช้ากว่าที่กำหนด ถือว่านักศึกษายินดีที่จะได้รับคะแนน ตามที่เห็นสมควร

 การนำเสนอข้อมูลในตาราง และคอลัมน์ (1 ชม.)...

bullet
ตารางสามารถใช้เพื่อจัดกลุ่ม หรือจัดรูปแบบข้อมูลในเอกสาร เพื่อแสดงความสอดคล้อง และง่ายต่อการอ่าน  แต่ละช่องของแถวและคอลัมน์เรียกว่า เซล (Cell) ที่สามารถใส่ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพได้ 

เนื้อหาการเรียนรู้:
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การนำเสนอและจัดรูปแบบข้อความในตาราง
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การทำงานกับข้อมูลในตาราง
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
การนำเสนอข้อความในคอลัมน์ 

bullet
bullet

5.1 การสร้างตารางใหม่...

bullet
นอกจากการป้อนข้อมูลในลักษณะที่เป็นย่อหน้า (paragraph) แล้ว ยังสามารถป้อนข้อมูลที่นำเสนอเป็นตารางในแนวคอลัมน์ และแถวได้
bullet
วิธีการ
bullet
จากเมนู Table > Insert > Table
bullet
จะต้องระบุ จำนวนแถว (Row) และคอลัมน์ (Column) 
bullet
แต่ละเซลของตาราง สามารถกำหนดรูปแบบของการแสดงย่อหน้า (paragraph) ได้ เช่น ชิดซ้าย-กลาง-ขวา  ย่อหน้าบรรทัดแรก-ย่อหน้าเยื้อง-กั้นขวา-กั้นซ้าย
bullet
ย้ายตำแหน่ง Insert Pointer โดยใช้ Tab
bullet
การรวม Cell
bullet
แถวแรกบนสุดในตาราง ควรจะรวม Cell ให้เป็น Cell เดียวเพื่อใส่ข้อความหัวเรื่อง
bullet
ทำได้โดย คลิกเมนูคำสั่ง Table จะช่วยในการ
bullet
คลิกเลือก Cell ที่จะรวม
bullet
คลิกคำสั่ง Table > Merge
bullet
คำสั่งอื่นๆ ที่น่าสนใจ
bullet
o      แทรกแถว/คอลัมน์/เซล 
bullet
o      ลบแถว/คอลัมน์/เซล 
bullet
o      แยกเซล (Split cells)
bullet
การเคลื่อนที่ Insert Point ในตาราง
bullet
ใช้ปุ่ม Tab
bullet
คลิกช่อง Cell ที่ต้องการ
bullet
การฝึกหัดสร้างตาราง
bulletให้สร้างตารางในลักษณะต่อไปนี้
bullet













bullet

 5.2 การแปลงตัวอักษรให้อยู่ในรูปตาราง...

bullet
เวิร์ดมีความสามารถในการจัดตัวอักษร หรือตัวเลข ให้เป็นตารางได้ง่ายๆ   โดยสามารถจะกำหนดให้
ตัวอักษร แต่ละย่อหน้า จัดให้อยู่ในแต่ละแถว (row)
ตัวอักษร ที่แยกด้วย Tab จัดให้อยู่ในแต่ละช่อง (cell)
bullet
วิธีการ
  1. เลือกกลุ่มของตัวอักษรที่คุณต้องการจะแปลงให้ลงไปในตาราง
  2. บนเมนู Table ให้ชี้ไปที่ Convert จากนั้นคลิกไปที่ Text to Table
  3. พิมพ์ตัวเลขของคอลัมน์ที่ต้องการ จากนั้นคลิก OK
bullet
ฝึกหัดแปลงตัวอักษรให้เป็นตาราง
bullet
1. ให้พิมพ์ข้อความดังนี้
bullet
AAเอ33
bullet
BBบี11
bullet
CCซี22
bullet
2. ให้แยกแต่ละแถว โดยการกดปุ่ม TAB
bullet
AA        เอ         33
bullet
BB         บี          11
bullet
CC        ซี          22
bullet
3. แปลงข้อความดังกล่าวให้อยู่ในรูปของตาราง
bullet

5.3 การจัดเรียงข้อมูลในตาราง...

bullet
ข้อมูลในตาราง สามารถจะจัดให้เรียงลำดับได้
bullet
เวิร์ดมีความสามารถในการจัดเรียงข้อมูลทั้งที่เป็น
bullet
ตัวเลข
bullet
ตัวอักษร ทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย 
bullet
จัดเรียงตามคอลัมน์ที่กำหนด
bullet
จัดเรียงแบบลำดับน้อยไปมาก (Ascending) และมากไปน้อย (Descending) 
bullet

วิธีการ

  1. ลิกที่ตาราง เพื่อวางจุดแทรกในคอลัมน์ที่ซึ่งต้องการจะเรียงข้อมูล
  2. บนเมนู Table ให้คลิก Sort
  3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Sort ให้เลือกตัวเลือกที่ต้องการจะใช้ จากนั้นคลิก OK
bullet
ฝึกหัดเรียงลำดับข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ ดังต่อไปนี้ 
bullet
เรียงด้วยคอลัมน์ที่ 1
เรียงด้วยคอลัมน์ที่ 2
เรียงด้วยคอลัมน์ที่ 3
AA
เอ
33
BB
บี
11
CC
ซี
22

CC
ซี
22
BB
บี
11
AA
เอ
33

BB
บี
11
CC
ซี
22
AA
เอ
33

bullet

 5.4 การคำนวณในตาราง...

bullet
ข้อมูลในตาราง สามารถใช้สูตรเพื่อคำนวณข้อมูลในเซลได้
bullet
เวิร์ดจะคาดการณ์สูตรที่จะคำนวณ
bullet
หากต้องการสูตรอื่นๆ  เช่น Count จะปรากฏใน Pate function:
bullet
รูปแบบของสูตรจะเริ่มด้วยเครื่องหมาย 
bullet
การอ้างอิงข้อมูลในเซล ใช้รูปแบบเดียวกับ Excel ได้
bullet
ตัวอย่างการคำนวณ
AA
เอ
33
BB
บี
11
CC
ซี
22
รวม
 66

  • วิธีการ

    1. คลิกที่ตาราง เพื่อวางจุดแทรกในเซลที่ต้องการคำนวณ
    2. บนเมนู Table ให้คลิก Formula
    3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Formula สูตรจะปรากฏในช่อง Furmula:  โดยสามารถเลือกสูตรที่ต้องการจาก Paste Function จากนั้นคลิก OK
    bullet

    5.5 การจัดตารางให้สวยงาม...

    bullet
    ข้อมูลในแต่ละเซล  ถือเป็นข้อความแต่ละย่อหน้า   ซึ่งสามารถจัดตัวอักษร
    bullet
    กำหนดฟอนต์ (Font) และขนาด (Font size)
    bullet
    เข้ม (Bold) เอียง (Italic) ขีดเส้นใต้ (Underline)
    bullet
    จัดย่อหน้า ชิดซ้าย (Left) กลาง (Center) ชิดขวา (Right) ชิดขอบ (Justify)
    bullet
    นอกจากนั้น ยังสามารถจัดรูปแบบของ
    bullet
    เส้นขอบ (Borders) ขนาดของเส้น สีของเส้น
    bullet
    สีพื้นของเซล (Shading)
    bullet
    และเพื่อความรวดเร็วในการจัดตัวอักษรในตาราง  ผู้ใช้สามารถจะเลือกการจัดตัวอักษรในตาราง ในรูปแบบที่เวิร์ด เตรียมไว้ให้แล้ว ในคำสั่ง Table AutoFormat
    bullet
    วิธีการ
    1. ในมุมมองเหมือนพิมพ์ ให้เลือกที่ตารางซึ่งต้องการจะจัดรูปแบบ
    2. ให้ใช้แถบเครื่องมือ Formatting ซึ่งแถบเครื่องมือ Tables and Borders และเมนู Format จะทำการเปลี่ยนแปลงกับตัวอักษร และตาราง
    bullet
    ฝึกหัดจัดรูปแบบตาราง โดย  
    bullet
    จัดเส้นขอบและสีพื้น
    ใช้ AutoFormat แบบ Table  Web 2
    ใช้ AutoFormat แบบTable Colorful 1
    AA
    เอ
    33
    BB
    บี
    11
    CC
    ซี
    22
    รวม
     66

    CC
    ซี
    22
    BB
    บี
    11
    AA
    เอ
    33
    รวม
    66

    BB
    บี
    11
    CC
    ซี
    22
    AA
    เอ
    33
    รวม
     66

    bullet

    5.6 การจัดรูปแบบตัวอักษรในคอลัมน์...

    bullet
    การนำเสนอข้อมูลในแบบคอลัมน์ เช่น ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ วารสาร    มีประโยชน์มากในการนำเสนอข้อมูล ให้ดูง่าย น่าสนใจ  
    bullet
    วิธีการ
    1. ให้เลือก (select) ข้อมูลที่ต้องการ
    2. บนเมนู Format ให้คลิก Columns
    3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Columns ให้พิมพ์ตัวเลขของคอลัมน์ที่ต้องการจะใช้ จากนั้นคลิก OK
    bullet
    bullet

    ตอนที่ 6 การสร้างกราฟฟิกในเอกสาร (1 ชม.)...

    bullet
    เพื่อให้เอกสารดูน่าสนใจขึ้น สามารถแทรกและปรับปรุงรูปภาพในเวิร์ด  รูปภาพจะช่วยสื่อความหมายแทนการอธิบายด้วยถ้อยคำ  รูปภาพที่นำมาแทรกในเวิร์ด จะมีทั้ง
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     รูปที่วาดขึ้นด้วยเครื่องมือของเวิร์ด
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    รูปที่นำมาจากโปรแกรมอื่น หรือมาจาก Internet
     ในตอนนี้ จะได้เรียนรู้
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    การสร้างแผนภาพ (Diagram)
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    การแทรกและปรับปรุงรูปภาพ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    การจัดแนวตัวอักษร และรูปภาพ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    การสร้าง Word Art
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    การวาดรูปและปรับปรุงรูปทรง

    bullet

    6.1 การแทรกและปรับปรุงแผนภาพ (Diagram)... 

    bullet
    แผนภาพ (Diagram) จะช่วยจัดแสดงข้อมูลในลักษณะของ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    แผนผังองค์กร
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    แผนภาพวงกลม (Cycle Diagram)
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    แผนภาพรัศมี (Radial Diagram)
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    แผนภาพปิรามิด (Pyramid Diagram)
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    แผนภาพ Venn (Venn Diagram)
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    แผนภาพ Target (Target Diagram)
    เมื่อแทรกแผนผังองค์กร (Organization Chart)  แผนผังจะมีช่องข้อความที่สามารถคลิก และแทนที่ด้วยข้อความที่ต้องการได้   ช่องและเส้นของแผนผังองค์กร สามารถเปลี่ยนแปลงได้
       
    bullet
    วิธีการแทรก Diagram
    1. คลิกที่เอกสารเพื่อวางจุดแทรกตรงที่คุณต้องการจะแทรกผังองค์กร
    2. บนแถบเครื่องมือ Drawing ให้คลิกที่ปุ่ม  Insert Diagram or Organization Chart
    3. คลิกที่ไอคอน Organization chart จากนั้นคลิก OK
    4. สำหรับการป้อนแต่ละรายการเข้าไปในแผนผัง ให้คลิกที่กล่องข้อความ จากนั้นพิมพ์ข้อความ
    5. ใช้แถบเครื่องมือ Organization เพื่อที่จะปรับปรุง Organization Chart
    bullet

    6.2 การกำหนดลายน้ำ (Watermarks)...

    bullet
    ลายน้ำเป็นภาพจางๆ หรือตัวอักษรที่ปรากฏแบบไม่ชัด (เบลอๆ) บนพื้นหลังในเอกสาร 

    การแทรกลายน้ำทำได้โดยเลือกจากคำสั่ง Format > Background > Printed Watermarks


    bullet

    6.3 สร้างข้อความศิลป์ที่สวยงาม ด้วย Word Art ...

    bullet
    นอกจากการเน้นข้อความโดยการใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ หรือกำหนดสีให้กับตัวอักษรแล้ว การแล้วโดดเด่นให้กับกับข้อความ ยังสามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้ Word Art ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ปรากฏเป็นไอคอนหนึ่งในแถบเครื่องมือ Drawing 
    bullet
    WordArt
    bullet
    การสร้างตัวอักษรด้วย WordArtสามารถทำได้ง่ายๆ  เพียงแค่เลือก รูปแบบจาก 30 แบบที่เวิร์ดมีให้ แล้วพิมพ์ข้อความ พร้อมกับกำหนดFont, Font size   

    ตัวอักษรที่สร้าง ยังสามารถปรับแก้ไขขนาด ลักษณะของสี ได้จากแถบเครื่องมือ WordArt ที่เวิร์ดมีให้

    bullet

    6.4 การแทรกภาพ...

    bullet
    ภาพที่นำมาแทรกในเอกสาร สามารถนำจาก
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

    ภาพจาก Clip Art : ...

    bullet
    เป็นโปรแกรมภาพที่ติดตั้งพร้อมโปรแกรมเวิร์ด
    bullet
    การแทรกภาพจาก Clip Art
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    จากแถบเครื่องมือDrawing ที่ปรากฏด้านล่างของหน้าต่างเวิร์ด
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    คลิกเลือกไอคอน  Insert Clip Art
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    ในช่อง Searchสามารถพิมพ์คำที่เป็นชื่อของภาพที่ต้องการได้
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    เมื่อพบภาพที่ต้องการ สามารถจะDouble Click ที่ภาพโดยตรง ภาพจะปรากฏที่เอกสารโดยอัตโนมัติ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

    ภาพจากไฟล์...

    bullet
    การแทรกภาพจากไฟล์
    *       เลือกคำสั่ง Insert > Picture > From File …
    *       คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่มีไฟล์ภาพที่ต้องการ
      
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

    ภาพจาก Internet...

    bullet

    การแทรกภาพจาก Internet
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    จากหน้าต่าง Web browser
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    เมื่อที่ต้องการปรากฏที่หน้าต่าง Web browser
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     ชี้เมาส์ที่ภาพ แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    เลือกคำสั่งว่า Copy
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    กลับมาเปิดหน้าต่างโปรแกรมเวิร์ด 
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    คลิกคำสั่ง Paste
      
    bullet

    เครื่องมือปรับ แก้ไข ภาพ (Picture)...

    bullet
    bulletเมื่อคลิกรูปภาพที่นำมาแทรกในเอกสาร แถบเครื่องมือ Picture  จะปรากฏอัตโนมัติ (ถ้าไม่ปรากฏให้คลิกกำหนดจาก View > Toolsbar > Picture
    bullet
    เครื่องมือที่สำคัญของ Picture คือ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
      
    bullet
    การปรับความคมชัด (Contrast) ความสว่าง (Brightness)
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     
    bullet
    การบังภาพ (Crop) 
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     
    bullet
    การจัดแนวตัวอักษร กับรูปภาพ (Text wrapping)
    bullet
     
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     
    bullet
    การจัดรูปแบบของภาพ (Format Picture) :  เช่น ขนาดภาพ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     
    bullet
    ยกเลิกการปรับทุกอย่าง (Reset Picture) : ปรับให้ภาพกลับคืนเหมือนเดิม
    bullet

    เครื่องมือวาดภาพ (Drawing)... 

    bulletเครื่องมือวาดภาพ (Drawing) สามารถสั่งให้แสดงได้ โดยคลิกเลือกคำสั่ง View > Toolbars > Drawing
    bullet
    bullet
    ไอคอนที่สำคัญของ Drawing
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    bullet
    AutoShapes : เป็นรูปภาพสำเร็จรูป  มีการแยกไว้เป็นกลุ่มๆ 
    bullet
    วิธีการใช้ Shape Tool
    1. บนแถบเครื่องมือ Drawing ให้คลิกที่ปุ่ม shape
    2. ลากเพื่อวาดรูปทรง
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    bullet
    Draw : เป็นกลุ่มของคำสั่งที่ใช้ในการจัดกลุ่มภาพ  วางภาพตามลำดับหน้าหลัง หมุนภาพ และที่น่าสนใจ คือ Change AutoShapes ที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปภาพของภาพจากที่เคยเลือกไว้แล้ว
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    bullet
    Text Box : เป็นกล่องข้อความที่ช่วยในการเพิ่มข้อความพิเศษ แล้วจัดแยกออกเป็นกล่องข้อความ นอกจากนั้น ข้อความใน Text Box ยังกำหนดให้เชื่อมโยง เพื่อเลื่อนไหลข้อความถึงกันได้ด้วย 
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    bullet
     Fill Color : ใช้ใส่สีพื้นให้ภาพ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     
    bullet
    Line Color : ใช้ใส่สีของเส้นขอบให้ภาพ
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     
    bullet
    Line Style : ใช้กำหนดขนาดของเส้น
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
     
    bullet
    Shadow style : ใช้กำหนดเงาให้กับภาพที่วาด
    สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
    * 
    bullet
    3-D Style ใช้กำหนดลักษณะภาพ 3 มิติให้กับภาพที่วาด
    bullet

    แบบฝึกหัดที่ 3 ...

    bullet
    1. สร้างไฟล์ใหม่
    bulletใช้ชื่อไฟล์ : <รหัสประจำตัวนักศึกษา> Word3
    bulletคลิกคำสั่ง File > Properties คลิกเลือก Tab Summery ที่ช่อง Author ให้พิมพ์ “ชื่อ นามสกุล และรหัสนักศึกษา”
    bullet
    2. สร้างตารางขนาด 4 Column 2 Row
    bullet








    bullet
    3. รวมเซลล์
    bulletคลิกเมาส์เลือก 4 cell  ใน ROW แรก
    bullet








    bulletคลิกเลือกคำสั่ง Table > Merge Cells
    bullet
    4. พิมพ์ข้อความในเซลล์
    bulletพิมพ์ข้อความในเซลแรก “ รายการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
    bulletกำหนดข้อความให้ชิดซ้าย 
    bulletพิมพ์รายการต่อไปนี้  ในแต่ละช่องของตารางที่สร้าง
    bullet
    bullet
    5. ใช้สูตรคำนวณในตาราง
    bulletในช่องรวม  ให้คำนวณด้วยโดยใช้ Formula
    bullet
    6. ใช้ AutoFormat
    bulletจัดรูปแบบตารางให้สวยงาม โดยใช้ AutoFormat
    bullet
    7. แบ่งเอกสารเป็นส่วนๆ  (section)
    bulletที่จุดท้ายสุดของเอกสาร ให้แทรกคำสั่ง Insert > Break  (Section break types) > Next page
    bulletกำหนดหน้ากระดาษแบบแนวนอน (Landscape)
    bullet
    8. คัดลอกและวางข้อมูลระหว่างหน้าต่าง
    bulletให้คัดลอกข้อมูลต่อไปนี้   นำไปต่อใน Section ใหม่ที่สร้างขึ้น กำหนดตัวอักษรเป็นขนาด 12 Point  จัดทำเป็น 3 คอลัมน์ จัดข้อความให้เหมาะสมกับแต่ละคอลัมน์  
    bullet
    9. ทำข้อความหัวกระดาษ (Heading) และข้อความท้ายกระดาษ (Footer)
    bulletHeading ให้เอกสารทุกหน้าปรากฏเลขหน้าที่มุมขวาด้านบน
    bulletFooter ที่มุมซ้าย เป็น ชื่อ-นามสกุล และมุมขวา เป็น รหัสนักศึกษา
    bullet
    10. แทรกภาพจาก WordArt
    bulletที่จุดสุดท้ายของเอกสาร แบ่งเอกสารเป็น Section เพิ่มอีกหนึ่งส่วน
    bulletกำหนดหน้ากระดาษแบบแนวตั้ง (Portrait)
    bulletใช้ WordArt สร้างข้อความที่เป็น ชื่อ-นามสกุล ของนักศึกษา
    bullet
    11. แทรกภาพจาก Clip Art
    bulletนำภาพ Computer, Software,  people จาก Clip Art มาไว้ในเซลในตาราง โดยกำหนดความสูงแต่ละภาพ เท่ากับ 1 นิ้ว  
    bullet
    bullet
    12. แทรกภาพจากแฟ้มข้อมูล
    bullet
    ที่ท้ายเอกสาร ใช้คำสั่ง Insert > Break > Next Page เพื่อขึ้นหน้าใหม่
    bullet
    แทรกภาพ Soap Bubbles.bmp หรือ Bubbles.bmp  ที่อยู่ในโฟลเดอร์ C:\windows
    bullet
    13. แทรกภาพจากอินเทอร์เน็ต
    bullet
    กำหนดจุดสิ้นสุดหน้ากระดาษที่ท้ายเอกสาร ใช้คำสั่ง Insert > Break > Next Page เพื่อขึ้นหน้าใหม่
    bullet
    นำภาพจากอินเทอร์เน็ต 1 ภาพมาใส่ในเอกสาร
    bullet
    14. ส่งงาน
    bullet
    ส่งงานที่ Eclassnet.kku.ac.th l (ภายในวันศุกร์)
    bullet
    โดยคลิกที่หัวข้อ Homework ส่งงานที่นี่
    bullet
    กำหนดประเภทงานเป็น  "กิจกรรมที่ 3"
    bullet
    กำหนดชื่อเรื่องเป็น  "การใช้ Microsoft Word ครั้งที่ 3"



    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น